แนวทางการเสริมสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่ชายแดนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

Main Article Content

โสภนา สุดสมบูรณ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการเสริมสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่ชายแดนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยตามการรับรู้ของครู และ 2) แนวทางการการเสริมสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนพื้นที่ชายแดน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่ชายแดนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ปีการศึกษา 2566 จำนวน 373 คน ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .76 และ 2) แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า1)สภาพการเสริมสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนพื้นที่ชายแดนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยตามการรับรู้ของครูภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก2)แนวทางการการเสริมสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนพื้นที่ชายแดน พบว่า ควรดำเนินการดังนี้ (1) จัดทำหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง (2) กำหนดเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกัน (3) กำหนดเป้าหมายและเลือกรูปแบบวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม (4) สร้างแพลตฟอร์มโดยใช้เทคโนโลยีรูปแบบที่หลากหลาย (5) สนับสนุนทรัพยากรการศึกษาต่างๆ อย่างเพียงพอและเหมาะสม และ (6) กำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ให้ชัดเจนโดยเน้นการนำการบริหารแบบมีส่วนร่วม


องค์ความรู้สามารถนำไปกำหนดนโยบายการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาที่อยู่ห่างไกลให้มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างเท่าเทียม รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทย


 

Article Details

How to Cite
สุดสมบูรณ์ โ. . (2024). แนวทางการเสริมสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่ชายแดนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย . วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(2), 251–264. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.38
บท
บทความวิจัย

References

นริศรา ใจคง และ สิริกานต์ แก้วคงทอง. (2564). นิเวศการเรียนรู้ : เรื่องเก่าบนวิถีใหม่. วารสารการศึกษาไทย. 18(3). 64 – 69.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การกำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาพการศึกษา

อภิชญา สวัสดี ศศิธร หาสินและกัลยารัตน์ สุขนันท์ชน.(2565). แนวทางการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ภายในสาถนศึกษารองรับการเรียนรู้เชิงรุก. e-Journal of Education Studies, Burapha University. 4(4). 67 – 78.

Hannon,V.P., and Temperley,J. (2011). Developing an innovation ecosystem for education. https://www.globalcitizenleaders.com/wp-conten/uploads/2017/03/innovation-Educat-CISCO.pdf

Holgado, A., & Penalvo, F.J. (2017). A metamodel proposal for developming learning ecosystems. Learning and collaboration technologies: Novel learning ecosystem. Cham:Springer International Publishing.