ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา 2) การจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา และ3) ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต จำนวน 265 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบปกติ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และ3) ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ด้านการพัฒนาสมรรถนะของครู ด้านโครงสร้างองค์กรและการติดต่อสื่อสาร และด้านงบประมาณ และร่วมกันทำนายการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา ได้ร้อยละ 66.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ซุบรี ม่วงกุ้ง. (2558). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. [วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
พัชรมัย อินอ่อน และต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษา โครงการส่วน
พระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดปทุมธานี. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(3),
-314.
มุกดามณี ศรีพงษ์เพริศ. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่สงผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี.
วศิน ชูชาติ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมทักษะการ เรียนรู้ของผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 จังหวัดสุพรรณบุรี.
[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. (2565). ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา จังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2565. ภูเก็ต: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาภูเก็ต.
________________________________________________. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. ภูเก็ต: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช (2542) และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท พริก
หวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ฉบับย่อ (2561 – 2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะ
กรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานผลการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อสร้างสรรค์ ด้วยปัญญา (Constructionism) ของสถาน
ศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวาน กราฟฟิค.
สาวิตรี มาตรขาว. (2560). ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สนธยา วิบูลย์ศิลป์. (2560). ปัจจัยทางด้านวิชาการที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
บึงกาฬ. [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อมรรัตน์ อุปพงษ์. (2560). ปัจจัยการบริหารงานวิชาการที่สงผลตอความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Jaikwang, O. (2017). Professional Competencies of Thai Teachers: Development Towards a Modern Society. Bangkok: Chulalongkorn
University.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement.
(3), 607 – 610.
Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale. In Reading in Fishbeic Attitude Theory and Measurement. Wiley & Son.