นวัตกรรมการจัดการเพื่อพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐ

Main Article Content

กัณณ์ศศิชา เนาว์เย็นผล
อำนวย บุญรัตนไมตรี
ฐิติมา โห้ลำยอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพรรณนาสภาพปัญหาการจัดการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐ 2) เพื่อระบุความต้องการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐ และ 3) เพื่อเป็นการนำเสนอแนวทางการจัดการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐ รูปแบบการวิจัยเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดหรือทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 20 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเกณฑ์คุณลักษณะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า


  1. ปัญหาในการพัฒนาบุคลากร คือ ขาดข้อมูลเพื่อการรวบรวมความต้องการด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา และด้านการพัฒนา

  2. บุคลากรสายสนับสนุนมีความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา
    และด้านการพัฒนา

  3. แนวทางในการพัฒนาบุคลากร คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการรวบรวมข้อมูลด้านความต้องการในด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา และด้านการพัฒนา

องค์ความรู้จะเป็นประโยชน์หรือนำไปใช้ 1. เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐในการสร้างนโยบายการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน 2. เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานสำหรับองค์กรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน

Article Details

How to Cite
เนาว์เย็นผล ก., บุญรัตนไมตรี อ., & โห้ลำยอง ฐ. (2024). นวัตกรรมการจัดการเพื่อพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(1), 74–88. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.6
บท
บทความวิจัย

References

ก่องเกียรติ รักษ์ธรรม, เพ็ญศรี เศรษฐวงศ์ และสมบูรณ์ สุริยวงศ์. (2556). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 7(2), 87-99.

ชนะยุทธ เกตุอยู่. (2559). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธตามแนวทางของพระสังฆพัฒนาในจังหวัดเพชรบูรณ์ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พนัส หันนาคินทร์. (2542). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: พิฆเนศ.

พีระศิลป์ บุญทอง. (2561). การบริหารกิจการคณะสงฆ์ของคณะสงฆ์ในภาคใต้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช, 5(1), 1-12.

มาริษา อนันทราวัน และโชติ บดีรัฐ. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎสายสนับสนุน ของมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์,6(3), 161.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2541). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย: กระแสใหม่และสิ่งท้าทาย. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

เศกสรรค์ คงคชวัน. (2556). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การบริหารส่วนตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal,6 (3), 237-238.

สมาน รังสิโยกฤษฎ์, (2530). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารบุคคล. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงาน.

สุทธญาณ์ โอบอ้อม. (2557). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Clark, A.R. (1997). A Teacher Evaluation to Education of selected Method of In-Service Education. Dissertation Abstracts.

Glisson, C., & Durick, M. (1998). Predictors of Job Satisfaction and Organizational Commitmentin Human Service Organization. Administrative Science Quarterly, 33(1), 61-81.

Humphrey, H. (2014). Effective leadership theory cases and applications. Los Angeles: Sage.

Maneth, J. (2004). The orles of moral intensity and moral emoticons in the ethical decision-making process: A study of human resource management professionals University of Nebraska-lincoln. accessed March 2004, from htt://www.lib.umi.com/dissertation/fullcit/ 3004769

Nadler, L. and Wiggs, G.D. (1989). Managing human resources development. San Francisco, California: Jossey-Bass.