บทบาทการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับบทบาทการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 และเขต 2 2)เพื่อเปรียบเทียบบทบาทการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 และเขต 2 โดยจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานและขนาดสถานศึกษา
การวิจัยนี้เป็นเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดการบริหารการศึกษาเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 และเขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารและครู จำนวน 329 คนกำหนดขนาดตัวอย่างโดยตารางของเครจซี่และมอร์แกนและวิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสถิติที่วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าเอฟ และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับบทบาทการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษประจวบคีรีขันธ์เขต 1 และเขต 2 ภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
- การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับบทบาทการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 และเขต 2 โดยจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานและขนาดสถานศึกษาภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำไปวางแผนและส่งเสริมให้สถานศึกษาหน่วยงานการศึกษามีการบริหารงานตามหลักธรรมภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ทวีวัฒน์ อินทรประเสริฐ (2559). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ : ข้าวฟาง.
นรมน ขันตี. (2561). การศึกษาบทบาทการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดจันทบุรี ระยองและตราด. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2554). หลักการจัดการศึกษา.กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
พระมหาสุเทพ สุภาจาโร (บุญหยง). (2559). การศึกษาสภาพการบริหารตามหลักธรรมภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาจันทบุรี. จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณ.
พิศวัลย์ สุขอินทร์. (2560). หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารสถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2566, จาก https://piswan.wordpress.com/author/piswan/.
ไพฑูรย์ สุขผลานันท์. (2558). การศึกษาสภาพการบริหารงาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด.จันทบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
วิภาส ทองสุทธิ์.(2551). การบริหารจัดการที่ดี.กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ครั้งที่ 1.สำนักพิมพ์อินทภาษ.
สมคิด มาวงศ์. (2554). การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดของครูสังกัดโรงเรียนเทษบาลในจังหวัดระยอง จันทบุรีและตราด. จันทบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2564). ประกาศเจตจำนงสุจริต มุ่งมั่นบริหารงานตาม หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.). สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2566, จากhttps://www.obec.go.th/archives/406247.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2551). แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ การส้รางธรรมาภิบาล (Good Governance) ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). คู่มือการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลิฟวิ่ง.
Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. NEW York: McGraw-Hill.