กลยุทธ์การจัดการของธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งในจังหวัดสมุทรสาคร สู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์สภาพการจัดการธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งในปัจจุบัน 2) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง และ 3) เพื่อกำหนดกลยุทธ์การจัดการของธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ทฤษฎีองค์การสมรรถนะสูงและ Balanced Scorecard เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ จังหวัดสมุทรสาคร ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ 1) ผู้บริหารธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งจำนวน 17 คน 2) บุคลากรของหน่วยงานภาคเอกชน จำนวน 2 คน 3) บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 2 คน รวม 21 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1. มีการจัดการองค์การตามมาตรฐานที่กำหนด มีการจัดการเป็นระบบ แยกแผนกชัดเจน มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
2. สภาพแวดล้อมทั่วไป เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และการแข่งขันมีผลต่อการพัฒนาธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง กล่าวคือ กฎหมายไม่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ ต้องมีการจัดการที่ดีกว่าคู่แข่งหรือผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3. กลยุทธ์การจัดการของธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง คือ ควรมีการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพของสินค้า ควรมีการบริหารจัดการธุรกิจแบบครบวงจร ภาครัฐควรอำนวยความสะดวกการออกกฎหมายในการขอใบอนุญาตต่าง ๆ ควรส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ควรขายสินค้าผ่านสื่อโซเซียลต่าง ๆ
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิราพรรณ สกุลลิ้ม. (2558). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกลยุทธ์การแข่งขันในอุตสาหกรรมส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งของผู้ประกอบการในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 3(3), 28-35.
ญาณกร โท้ประยูร และคณะ. (2561). การศึกษาเชิงกลยุทธ์ธุรกิจค้าส่งอาหารแช่แข็งในพื้นที่ภาคอีสาน ของบริษัท พีมาร์ค ซุปเปอร์สโตร์ จำกัด. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 8(1), 1-9.
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). (2563). อสังหาริมทรัพย์ ปีนี้ยังน่าลงทุนอยู่มั้ย?. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/real-estate-investment
นิรันดร์ แสงสุขเอี่ยม. (2563). การสร้างคุณค่าอาหารทะเลไทยให้เกิดความมูลค่าเพิ่มเพื่อเกษตรกรไทยอยู่อย่างยั่งยืน. บทความเพื่อเสนอต่อวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร โครงการหลักสูตร การบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง (สวปอ.มส. SML) ประจำปีการศึกษา 2563, 1-13.
สยามรัฐออนไลน์. (2564). สมุทรสาคร ผุดตลาดอาหารทะเลต้นแบบ สร้างภูมิต้านโควิดกระตุ้น ศก. ไทย. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564, จาก https://siamrath.co.th/n/289489
สุรเดช นิลอุบล. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 14(1), 203-218.
De Waal, A. (2005). Is your organization ready for beyond budgeting. Measuring Business Excellence, 9(2), 56-67.
De Waal, A. (2007). The Characteristics of High Performance Organization. Business Strategy Series, 8(3), 179-185.
De Waal, A. (2012). What Makes a High Performance Organizations. Seminar on HPO. London: Global Professional Publishing Ltd.
Kaplan, K. S. & Norton, D. P. (1996). Translating strategy into action The Balanced Scorecard. Boston, MA.: Harvard Business School Press.
Office of International Commercial Affairs in the Hague. (2015). Thai seafood and products industry in the European market. Retrieved October 24, 2021, from http://www.ditp.go.th/contents_ attach/93868/93868.pdf