การจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างยั่งยืนของชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อระบุการจัดการขยะของชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี 2) เพื่อพรรณนาการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างยั่งยืนของชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมจากกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้เสียในการจัดการขยะของชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี จำนวน 20 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ไม่มีพฤติกรรมการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้งให้เทศบาล/อบต. มาจัดเก็บ ทั้งที่ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอย 2) ประชาชนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ส่วนใหญ่เป็นประชากรแฝง ซึ่งมุ่งเน้นการทำงานหารายได้ จึงไม่ได้ใส่ใจในการคัดแยกขยะหรือเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐท้องถิ่นมากนัก 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับแนวทางการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างยั่งยืนของชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้ให้ข้อเสนอโดยให้ความสำคัญทางด้านพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ การปลูกฝังจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ การจัดกิจกรรมที่เป็นแรงจูงใจเพื่อคัดแยกขยะ การร่วมมือระหว่างท้องถิ่นในการกำจัดขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง การประชาสัมพันธ์ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดการขยะมูลฝอย รวมถึงการทำหนังสือบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐ ผู้รับสัมปทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจร เพื่อให้การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนเกิดความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคงความเจริญรุ่งเรืองของนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ควบคู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน นำมาสู่แนวทางในการพัฒนาพื้นที่ชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรีต่อไปในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2566). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ. (2553). คู่มือการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรณีการจัดการขยะมูลฝอย สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
จารุวัฒน์ ติงหงะ. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 14(2), หน้า 91-120.
จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจนจิรา เงินจันทร์ และคณะ. (2566). การมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากบัว บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 189-204.
นฤนาท ยืนยง และ พิชชานาถ เงินดีเจริญ. (เมษายน - มิถุนายน 2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนใน
การจัดการขยะมูลฝอยของตำบลสำพะเนียง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการและการวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(2), หน้า 279-297.
ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร และ วชิรวัชร งามละม่อม. (มกราคม-เมษายน 2561). แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์, 5(1), หน้า 172-193.
ยุทธนา เกื้อกูล. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างผู้เรียนสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปัตตานี.
ลภณ อาจศรี และ ศิวัช ศรีโภคางกุล. (เมษายน-มิถุนายน 2560). การบริหารจัดการขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), หน้า 25-36.
วรวุฒิ พละบุตร. (2548). การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางถนน ศึกษากรณีในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. ภาคนิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วิวัฒน์ กรมดิษฐ์. (2559). การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสังคมที่ยั่งยืนรอบนิคมอุตสาหกรรม: กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, นครปฐม.
เวียงคำ แสงสุรีจัน. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิผลของนครไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
ศาลิมาร์ เกิดกลิ่นหอม และ ณพงศ์ นพเกตุ. (2563). แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 16(2), 60-73.
สถาบันพระปกเกล้า. (2553). การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
สายัน เผื่อยา และคณะ. (กันยายน-ธันวาคม 2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะพลาสติกในจังหวัดสมุทรปราการตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(3). 195-209.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุพรรษา พาหาสิงค์ และ สัมพันธ์ พลภักดิ์. (2561). การบริหารจัดการด้านการจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 8(1), หน้า 132-142.
เอกพงษ์ สารน้อย. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563). ปัญหากฎหมายการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมและอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(2), หน้า 31-45.
Deming, W. Edwards. (1986). Out of the Crisis. Cambridge University Press.
HREX asia. (2564). PDCA: ความหมาย ประโยชน์ และตัวอย่างใช้ 4 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง. เข้าถึงได้จาก: https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/what-is-pdca-210610/, 21 พฤษภาคม 2566.
Kaosol, T. (2009). Sustainable Solution for Municipal Solid Waste Management in Thailand. World Academy of Science, Engineering and Technology, 60, pp. 665-670.
Shekdar, A.V., (2009). Sustainable Solid Waste Management: An Integrated Approach for Asian Countries. Waste Management, 29, pp. 1438-1448.
Szentendre. (1996). Public Participation Training Module. Hungary: The Regional Environmental Center.