การจัดการธุรกิจครอบครัวสมัยใหม่ กรณีศึกษาธุรกิจอพาร์ตเมนต์ในประเทศไทย

Main Article Content

รุจิกาญจน์ สานนท์
ภูริณัฐ ยมกนิษฐ์
สินิทรา สุขสวัสดิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์กรและการสืบทอดธุรกิจครอบครัว 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กร และการสืบทอดธุรกิจครอบครัวกับการจัดการธุรกิจครอบครัวสมัยใหม่ และ 3) วิเคราะห์อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรและการสืบทอดธุรกิจที่ส่งผลต่อการจัดการธุรกิจครอบครัวสมัยใหม่ กรณีศึกษาธุรกิจอพาร์ตเมนต์ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจอพาร์ตเมนต์ในประเทศไทย จำนวน 400 แห่ง ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า (1) การสืบทอดธุรกิจครอบครัวภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หลังจากได้เข้ามาทำงานเกินระยะเวลา 5 ปี สามารถบริหารจัดการแทนบิดามารดาในธุรกิจอพาร์ตเมนต์ของครอบครัวได้ รองลงมา คือ หลังจากได้เข้ามาทำงานระยะหนึ่งได้รับผิดชอบงานมากขึ้น ซึ่งเป็นการบริหารงานระดับเบื้องต้น ส่วนวัฒนธรรมองค์กรในธุรกิจครอบครัวภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ก่อตั้งธุรกิจเป็นศูนย์รวมของความรักและความสามัคคีของสมาชิกในครอบครัว รองลงมา คือ การสร้างกำลังใจและการเสียสละของสมาชิกในครอบครัวทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน (2) วัฒนธรรมองค์กร การสืบทอดธุรกิจครอบครัว และการจัดการธุรกิจครอบครัวสมัยใหม่ มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (3) วัฒนธรรมองค์กรและการสืบทอดธุรกิจ มีอิทธิพลต่อการจัดการธุรกิจครอบครัวสมัยใหม่ โดยสามารถร่วมกันอธิบายการจัดการธุรกิจครอบครัวได้ร้อยละ 19.80

Article Details

How to Cite
สานนท์ ร., ยมกนิษฐ์ ภ., & สุขสวัสดิ์ ส. (2024). การจัดการธุรกิจครอบครัวสมัยใหม่ กรณีศึกษาธุรกิจอพาร์ตเมนต์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(1), 233–250. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.17
บท
บทความวิจัย

References

จันทิมา สมรรคะบุตร. (2553). การสืบทอดธุรกิจของครอบครัว. Executive Journal, 30(2), 88-91.

ธนาคารกรุงศรี. (2566). แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยปี 2566-2568. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/industry-outlook-2023-2025

ธนาคารกสิกรไทย. (2566). 3 ธุรกิจดาวรุ่ง และธุรกิจดาวร่วง ปี 2566 รับมืออย่างไรดี. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.kasikornbank.com/th/credit-insight/pages/business-trend-2023.aspx

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2562). อยากสร้างอพาร์ทเม้นท์ ควรเริ่มอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2563, จาก https://blog.ghbank.co.th/how-to-start-building-apartment/

เนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์ (ยาบุชิตะ). (2555). การสืบทอดกิจการของธุรกิจครอบครัวไทย. Journal of HR Intelligence, 7(2), 18-27.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2553). การจัดการสมัยใหม่ = Modern management. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปวีณา ลีลาชัย, พลาญ จันทรจตุรภัทร และอารีรัตน์ ปานศุภวัชร. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างระบบการจัดการที่ดีกับผลการดำเนินงานของธุรกิจห้องเช่าและหอพักในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 6(4), 108-118.

ปิยภรณ์ ชูชีพ และวิชิต อู่อ้น. (2563). แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการสืบทอดทายาททางธุรกิจของธุรกิจ ครอบครัวในประเทศไทย. Journal of Digital Business and Social Sciences, 6(2), 73-94.

ปุณณภา นิยมเสน และ เอกศิริ นิยมศิลป (2564). แนวทางสู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจห้องเช่าอพาร์ตเมนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(4), 1-15.

พันธ์ศักดิ์ เสตเสถียร และ สกลศรี สถิตยาธิวัฒน์. (2022). ธุรกิจครอบครัว: การบริหารองค์กรท่ามกลางระบบนิเวศทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.deloitte.com/th/en/pages/deloitte-private/articles/family-owned-business-th.html

วีระศักดิ์ เครือเทพ และดวงมณี เลาวกุล. (2565). การวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูก สร้าง พ. ศ. 2562 ที่มีต่อรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการกระจายภาระภาษี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 39(2), 187-214.

ศิรินภา ตระกูลโชคอำนวย. (2556). กระบวนการสืบทอดธุรกิจภายในครอบครัวของบริษัทยนต์ผลดี จำกัด (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2552). ธุรกิจอพาร์ทเมนต์ให้เช่า (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ: เจเอสที พับลิชชิ่ง.

สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง. (2561). หอพักในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กองนโยบายและแผนงาน สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร.

Beehr, T. A., Drexler, J.A., & Faulkner, S.(1997).Working in small family businesses: empirical comparisons to non‐family businesses. Journal of Organizational Behavior: The International Journal of Industrial, Occupational and Organizational Psychology and Behavior, 18(3, 297-312.

Bordeerath, B. (2023). Inherited Corporate Control, Inequality and the COVID Crisis. Puey Ungphakorn Institute for Economic Research. (April 11, 2023).

Bozer, G, Levin, L.& Santora, J.C.(2017).Succession in family business:multi-source perspectives. Journal of Small Business and Enterprise Development, 24(4), 753-774.

Dyer, W. G., Jr. (1986). Cultural Change in Family Firms: Anticipating and Managing Business and Family Transitions. San Francisco: Jossey-Bass.

Handler, W. C. (1989). Managing the Family Firm Succession Process; The Next-Generation Family Member's Experience (Doctoral Dissertation). Boston University.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). Linking the balanced scorecard to strategy. California management review, 39(1), 53-79.

Kepner, E. (1983). The family and the firm: A coevolutionary perspective. Organizational Dynamics, 12(1), 57-70.

K-Property. (2566). ธุรกิจหอพักและอพาร์ตเมนต์ สร้าง Passive Income มีรายรับทุกเดือน, สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม2566,จาก https://www.kasikornbank.com/th/propertyforsalearticle/pages/ dormitory-and-apartment-for-passive-income.aspx

Laforet, S. (2016). Effects of organizational culture on organizational innovation performance in family firms. Journal of Small Business and Enterprise Development, 23(2), 379-407.

Mahto, R. V.et al. (2010). Satisfaction with firm performance in family businesses. Entrepreneurship Theory and Practice, 34(5), 985-1002.

Memili, E., Chang, E. P., Kellermanns, F. W., & Welsh, D. H. (2015). Role conflicts of family members in family firms. European Journal of Work and Organizational Psychology, 24(1), 143-151.

Morck, R., Wolfenzon, D., & Yeung, B. (2005). Corporate governance, economic entrenchment, and growth. Journal of economic literature, 43(3), 655-720.

Netemeyer, R. G., Boles, J. S., & McMurrian, R. (1996). Development and validation of work–family conflict and family–work conflict scales. Journal of applied psychology, 81(4), 400.

Rogal, K. H. (1989). Obligation or Opportunity: How Can Could-Be Heirs Assess Their Position. Family Business Review, 2(3), 2.

Sharma, P. C., & Chrisman, J. (1999). Toward a reconciliation of the definitional issues in the field of corporate entrepreneurship. Entrepreneurship Theory and Practice, 23(2), 11-27.

Stewart, A. (2003). Help one another, use one another:Toward an anthropology of family business. Entrepreneurship Theory and Practice, 27(4), 383-396.

Utrilla, P. N. C., & Torraleja, F. A. G. (2012). Family businesses: How to measure their performance. African Journal of Business Management, 6(12), 4612-4621.

Zellweger, T. M., Eddleston, K. A., & Kellermanns, F. W. (2010). Exploring the concept of familiness: Introducing family firm identity. Journal of family business strategy, 1(1), 54-63.