นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลโดยใช้รูปแบบ การบริหารแบบมีส่วนร่วม และการบริหารแบบเครือข่าย ของกลุ่มโรงเรียนเอกชนคาทอลิกภาคใต้

Main Article Content

เพชรสุภัค กิจสกุล
พิภพ วชังเงิน
ทนง ทองภูเบศร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของนวัตกรรมและทฤษฎีในการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล2)เพื่อออกแบบนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลและ3)เพื่อกำหนดแนวทางการใช้นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลการวิจัยนี้เป็นการวิจัยคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารสถานศึกษา รางวัลพระราชทานและที่ได้รับผลการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)ระดับดีเยี่ยมและดีมาก จำนวน 8 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1)แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2)แผนการวิจัยปฏิบัติการโดยใช้หลักการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและ3)แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัยด้วยเทคนิค


ผลการวิจัย พบว่า
1.องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ได้แก่ 1)การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม 4 ด้าน คือ (1)ด้านการตัดสินใจ(2)ด้านการปฏิบัติ(3)มีส่วนร่วมจากบุคคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร และ (4)ด้านการประเมิน และ 2)การบริหารสถานศึกษาแบบเครือข่าย 5 ด้าน คือ(1)ด้านการศึกษา (2)ด้านสังคม (3) ด้านชุมชน(4)ด้านผู้ปกครองและ(5)ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร2.นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของกลุ่มโรงเรียนเอกชนคาทอลิกภาคใต้ คือรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ผสมผสานกับการบริหารแบบเครือข่ายและ3.แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ได้แก่ (1)การบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา(2)การสร้างวัฒนธรรมสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง(3)การจัดการความรู้ในสถานศึกษายุคดิจิทัล(4)การทำงานเป็นเครือข่าย(5)การบริหารเทคโนโลยี(6)การยอมรับเทคโนโลยีนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงและ(7)การเข้าถึงเทคโนโลยีโดยเชื่อมโยงความคิดและความรู้ให้กับผู้เรียน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ สุขแสน. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.

กุลทัต หงส์ชยางกูร และปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา. (2560).เครือข่ายเป็นรูปแบบของความสัมพันธ์ทางสังคม.สืบค้นจาก http://hsmi2.psu.ac.th/upload/forum/paper_1598_5f69ce9304e915f69ce.pdf

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. จาก https://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1699-file.pdf

ธิญาดา ภัคธนาภิญโญ. (2565). การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา. วารสารนวัตกรรมการบริหารการศึกษา, 1(1), 1-9.

นิตยา หล้าทูนธีรกุล. (2561). กระบวนการของ PLC: Professional Learning Community สู่สถานศึกษา ผ่านภาระงานของครูผู้สอนสู่คุณภาพผู้เรียน ยุค Thailand 4.0 (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน).มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปณิตา เกตุแก้ว. (2563). ความหมาย องค์ประกอบ ประเภทและความสำคัญของนวัตกรรม Product innovation เพื่อการเปลี่ยนแปลงด้านสินค้าและบริการ. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org

พรรณีย์ สุรีย์แสง และนันทิยา น้อยจันทร์. (2565). หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน. รายงานการประชุม Graduate School Conference, 4(1), 1154.

วรินทร ชัยสัมพันธ์สกุล และนันทิยา น้อยจันทร์. (2566). การประยุกต์ใช้ทฤษฎี POSDCoRB เพื่อส่งเสริมกระบวนการบริหารสถานศึกษา. รายงานการประชุม Graduate School Conference, 5(1), 1013-1021.

สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น ,16(1), 353-360.

สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2564). นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษายุคใหม่. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 975-984.

แผนแม่บทในการบริหารสถานศึกษาของกลุ่มโรงเรียนเอกชนคาทอลิกภาคใต้. (2563). แผนแม่บทฝ่ายการศึกษาสังฆมณฑลสุราษฏร์ธานี (ศสร.) 2564-2567.

มนู อรดีดลเชษฐ์. (2557). การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมยุคดิจิทัลของภาคธุรกิจ. สืบค้นจาก http://ictandservices.blogspot.com/2014/12/blog-post.html.

Agbi, A. (2019). Technology and Innovation for Instructional in Digital Ages. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 12(6), 478-494.

Harwati Hashim, Universiti Kebangsaan, Malaysia (2018). Application of Technology in the Digital Era Education DOI:10.24036/002za0002 LicenseCC

Miller, Steven, I. (1982). Quality and quantity: Another view of analytic induction as a research technique. Quality and Quantity, 16, 141–151.

Pumpo, A. (2019). SCAMPER Technique for Creative Thinkers, Europass Teacher academy (2019). from https://www.teacheracademy.eu/blog/scamper-technique-for-creative-thinkers/.

Zandraevich, S. (2018). Strategic models of networking cooperation in the national education system: History and perspectives. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(6), 478-494.