การบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บิหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายที่ 4 อำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

Main Article Content

นนท์ ทองสวัสดิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาระดับการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา และ2) เพื่อหาแนวทางการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายที่4 อำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิด การบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ สถานศึกษากลุ่มเครือข่ายที่ 4 อำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต1กลุ่มตัวอย่างคือ ครูจำนวน 159 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี2 ชนิด คือ1) แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.992) แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายที่ 4 อำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก2. แนวทางการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา คือ 1. ด้านการบริหารวิชาการ มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับทุกกลุ่มสาระ 2. ด้านการบริหารงบประมาณ มีการจัดทำแผนและเสนอของบประมาณตามความเหมาะสมและความต้องการที่แท้จริง 3.ด้านการบริหารงานบุคคลมีการวางแผนอัตรากำลังตามความต้องการและความจำเป็นของสถานศึกษา และ 4. ด้านการบริหารงานทั่วไป มีการดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม มีการดูแลควบคุม อาคารให้พร้อมใช้งานและปลอดภัย

Article Details

How to Cite
ทองสวัสดิ์ น. . . (2024). การบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บิหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายที่ 4 อำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(2), 236–250. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.37
บท
บทความวิจัย

References

กัญจน์รัตน์ สินธุรัตน์. (2559). การบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัยธยมศึกษา เขต 17 เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

กันยารัตน์ ม่วงฉิ่ง. (2557). กระบวนการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

กรรณทิพย์ ใจเพ็ชร์. (2551). การบริหารอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนพลาธิการทหารบก กรมพลาธิการทหารบก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กุหลาบ มากมี. (2558). การนำนโยบายของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาตามการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ขวัญพิชชา มีแก้ว. (2562). การบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

คมสรร บุญประโคน. (2561). การดำเนินงานการบริหารการจัดการกิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ธงชัย ดีมูลพันธ์. (2565). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในสหวิทยศึกษาวังสีทา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธวัช สร้อยโพธิ์พันธุ์. (2557).การศึกษาปัญหาการบริหารอาคารสถานที่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

นพพงษ์ บุญจิตรคุลย์. (2557). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. นนทบุรี : ตีณรสาร.

พรทิพย์ บรรเทา. (2558). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (เลย –หนองบัวลำภู). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

พระนพพร สู่เสน. (2559). การจัดการศึกษาบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาโรงเรียนศรีแสงธรรม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เพชรประภาร์ ชุมสาย. (2559). การจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

มาลีรัตน์ ทองแช่ม. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ โรงเรียนบ้านหัววัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย เกริก.

วรรณา ยะแสง. (2557). การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ศรีเรือน ยิ้มย่อง. (2556). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท สิงห์บุรีและอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สมรภูมิ อ่อนอุ่น. (2558). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงชองโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สันติ อวรรณา. (2551). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาครูโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุดารัตน์ เหมาะสมาน. (2561). การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุนิสา มุ้ยจีน. (2563). การศึกษาการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.