ผลกระทบของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองของกลุ่มมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย

Main Article Content

ครูทร หนูทอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการก่อเกิด และพัฒนาการของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ของกลุ่มมุสลิม ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย 2) เพื่อกลยุทธ์ และปฏิบัติการของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองของกลุ่มมุสลิม ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย และ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบระดับโครงสร้าง สังคม วัฒนธรรม และระดับบุคคล ที่เกิดขึ้นจากขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ของกลุ่มมุสลิม ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย. การศึกษาวิจัย ใช้แนวคิด  ทฤษฎีการระดมทรัพยากร ทฤษฎีกระบวนการทางการเมือง  แนวคิดขบวนการทางสังคม  แนวคิดโครงสร้างทางสังคม และ แนวคิดพื้นฐานแรก วิธีการศึกษา ใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ กระบวนการศึกษาวิจัย ยึดกรอบแนวคิดทฤษฎีเป็นหลัก ในการสำรวจวรรณกรรม  การวิเคราะห์เอกสาร  และการสัมภาษณ์เจาะลึก  จากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 40 คน ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม จำนวน 18 เวที  ฐานข้อมูลสำคัญ ที่ได้จาก การศึกษาวิจัย เก็บจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เชื่อมโยงหลากหลายมิติ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย


ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การก่อเกิดและพัฒนาการ ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ของกลุ่มมุสลิม ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย ปัญหาไม่ได้เกิดจาก ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา การศึกษา และวัฒนธรรม แต่เกิดจากโครงสร้าง การเมืองการปกครอง การปฏิบัติตาม นโยบายรัฐ ที่ไม่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ โดยเฉพาะ ประเด็นความชอบธรรม  และการมีส่วนร่วมทางสังคมและการเมือง การปกครอง เป็นผลให้ ปัจเจก และชนชั้นนำ ที่คิดต่าง และไม่เห็นด้วยกับนโยบายรัฐ และการปฏิบัติที่ขัดแย้งกับอัตลักษณ์ของสังคมมุสลิม  จึงก่อเกิดและพัฒนาการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองมุสลิม 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์. (2551) . ตัวตนมลายูมุสลิมที่ชายแดนใต้.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ .(2551). แผ่นดินจินตนาการ รัฐและการแก้ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้. สำนักพิมพ์มติชน

พลศักดิ์ จิรไกรศิริ. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: เทคนิคแผนที่นำทางการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2564). สรุปผลการปฏิบัติงานประจำปี 2564. ศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2551). ภาษามลายูท้องถิ่นในประเทศไทย: การศึกษาสถานการณ์ทางภาษา การพัฒนา และการวางแผนการใช้ภาษาเพื่อการศึกษาและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ระยะที่1). ใน งานวิจัยชุมชนชายแดนใต้สู่นโยบายสาธารณะ. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล.

อิมรอน มะลูลีม.( 2538). วิเคราะห์ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลไทยกับมุสลิมในประเทศไทย: กรณีศึกษากลุ่มมุสลิมในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้. อิสลามิคอะเคเดมี.

Askew, M. (2010). Legitimacy crisis in Thailand. Silkworm Books.

Cheman, W.K .(1990) .Muslim Separatism : The moros of Southern Philippines and the Malays of SouthernThailand. Oxford University Press.

McCargo, D. (2008). Tearing apart the land: Islam and legitimacy in Southern Thailand. Cornell University Press