การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีสผลไม้เพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ของสหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์คห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

สุรีรัตน์ เยี่ยมตระกูล
ชาญณรงค์ ผาดจันทึก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีสรสผลไม้จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ และ เพื่อประเมินระดับการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีสรสผลไม้รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีใช้แนวคิด และหรือทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การประเมินคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ที่พึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีสรสผลไม้ และทฤษฎีความต้องการของมนุษย์เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือแหล่งท่องเที่ยวหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคและกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 132 คน
ตามเกณฑ์ของเครซี่แอนด์มอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญภายในแต่ละกลุ่มผู้บริโภคเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคลโดยใช้ค่าความถี่
ค่าร้อยละและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับการยอมรับผลิตภัณฑ์ใช้ค่าสถิติค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีสรสผลไม้จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 1) ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีส 2) ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีสรสทุเรียน 3) ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีสรสมะนาว
4) ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีสรสส้ม และ 5) ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีสรสกล้วยหอมมีคุณลักษณะ
พึงประสงค์ของผู้เชี่ยวชาญในระดับห้องปฏิบัติการในระดับมากที่สุดทุกผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (gif.latex?\bar{x}=4.52)
2. ผู้บริโภคมีระดับการยอมรับผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีสรสผลไม้โดยรวมทุกผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (gif.latex?\bar{x}=4.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีส รสมะนาวอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (gif.latex?\bar{x}=4.66) รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีสรสส้มและผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีส รสกล้วยหอมมีระดับการยอมรับอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากันมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ(gif.latex?\bar{x}=4.52) ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีสรสทุเรียนมีระดับการยอมรับอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากันมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (gif.latex?\bar{x}=4.74) และผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีสอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (gif.latex?\bar{x}=4.09) ตามลำดับ
องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ สหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์คห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมสามารถนำองค์ความรู้และทักษะการทำผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีสรสผลไม้ไปประกอบอาชีพเพื่อหาราได้เสริมนอกจากนี้ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีรสชาติ ลักษณะ แตกต่างจากนมโคของน้ำนมดิบจากการเลี้ยงโคนมที่สามารถจำหน่ายในราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมนมโคราคากิโลกรัมละ 18 บาท เมื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ไอศกรีมแล้วสามารถจำหน่ายได้ในราคา 30บาท

Article Details

How to Cite
เยี่ยมตระกูล ส., & ผาดจันทึก ช. (2023). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตชีสผลไม้เพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ของสหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์คห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(2), 164–178. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.27
บท
บทความวิจัย

References

ข่าวธุรกิจการตลาด.(2563). โคนมไทยปรับตัวรับ FTA. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566,จาก https://mgronline.com/business/detail/9630000092953

จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง. (2559).การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม เมืองนครชุม จ. กำแพงเพชร (รายงานวิจัย). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

จิตธนา แจ่มเมฆ และคณะ.(2546).วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 354) พ.ศ.2556 เรื่อง ไอศกรีม. ( 2556, 24 กรกฎาคม).ราชกิจจานุเษกษา. เล่มที่ 130 ตอนพิเศษ 87ง, หน้า 85-87.

ผจงจิต พิจิตบรรจง. (2558). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรตะไคร้โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ และการออกแบบการทดลอง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์,7(1), 4-10.

ภคมน โภคะธีรกุล. (2562).แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 1(2), 5-9.

รุจิระ โรจนประภายนต์ และคณะ. (2562). นโยบายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 1(2),15-16.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์เชียงใหม่. (2562). คู่มือฝึกอบรมเทคโนโลยีน้ำนมและผลิตภัณฑ์นม.สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2566, จาก https://drive.google.com/file/d/1GRfZYyk/file/d/ 1IlNJsjYFIcDHq1 Ihsar_TzsD/view

สดุดี วงศ์เกียรติขจร. (ม.ป.ป.). แนวนโยบายและแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนา ASEAN SMEs. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2561, จาก http://www.itd.or.th/research-article/452-ar

สยามรัฐ.(2563).รับมือเปิดเสรีนม-โคเนื้อ. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2566, จากhttps://siamrath.co.th/n/133602

สุนิสา มามาก และคณะ. (2565). การพัฒนาเครื่องดื่มเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์แบบร้านหน้าฟาร์มของสหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์คห้วยสัตว์ใหญ่จำกัด. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(2),117-120.

เสรี วงษ์มณฑา. (2548) การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

อินทรธนู ฟ้าร่มขาว. (2559). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Schmidt, J.B.(2005). The key to managing risk during new product development. New Jersey: John Wiley & Sons.