ทัศนคติของผู้ต้องขังที่มีต่อการจัดสวัสดิการในเรือนจำกลางสงขลา

Main Article Content

ชัตชัย เทพเดชา
สิทธิพงษ์ สิทธิภัทรประภา
สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทัศนคติของผู้ต้องขังที่มีต่อการจัดสวัสดิการในเรือนจำกลางสงขลาและ 2) แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการในเรือนจำกลางสงขลา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  ผู้ต้องขังที่ถูกคุมขังในเรือนจำกลางสงขลา จำนวน 289 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณจากสูตรทาโร ยามาเน่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาผู้ต้องขัง ผู้อำนวยการส่วนควบคุมผู้ต้องขัง หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการผู้ต้องขัง หัวหน้าฝ่ายการศึกษาและพัฒนาจิตใจ หัวหน้าสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษาและพัฒนาจิตใจ เจ้าหน้าที่งานเยี่ยมญาติ และผู้ต้องขัง รวม 10 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติของผู้ต้องขังที่มีต่อการจัดสวัสดิการในเรือนจำกลางสงขลาในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านอนามัยของผู้ต้องขัง ด้านการเยี่ยมญาติ ด้านการศึกษาและพัฒนาจิตใจ ด้านกีฬาและนันทนาการ ด้านการรักษาพยาบาล และด้านสวัสดิการขั้นพื้นฐาน และ 2) แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการในเรือนจำกลางสงขลา ประกอบด้วย (1) จัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานของหน่วยงานและให้บริการผู้ต้องขังอย่างเท่าเทียม ยุติธรรมและเพียงพอ (2) ควรมีการจัดการรักษาพยาบาลที่ผู้ต้องขังสามารถเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็วและมีผู้รับผิดชอบอย่างช้ดเจน (3) ควรกำหนดนโยบายทางด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาจิตใจของผู้ต้องขัง (4) ควรจัดให้มีสถานที่ที่ส่งเสริมให้ผู้ต้องขังมีความเป็นอยู่ที่ดีที่สุด (5) ควรจัดให้มีสถานที่สำหรับเล่นกีฬาและออกกำลังอย่างเพียงพอและเหมาะสม และ (6) ควรจัดให้มีการเยี่ยมญาติผ่านช่องทางที่หลากหลายเพื่อให้ญาติสามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์. (2546). คู่มือการจัดสวัสดิการผู้ต้องขัง. กรุงเทพฯ: กรมราชทัณฑ์.

กรมราชทัณฑ์. (2559). คู่มือมาตรฐานเรือนจํา 10 ด้าน. กรุงเทพฯ: สำนักทัณฑวิทยา.

ธงชัย ทองคำ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). วิธีรับมือกับนักเรียนที่มีทัศนคติเชิงลบ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซแท็กซ์.

นิศา ศิลารัตน์. (2556). การดำเนินชีวิตในสังคมของอดีตผู้ต้องของคดียาเสพติด. วารสารการเงินการลงทุน การตลาด และบริหารธุรกิจ, 3(4), 309-328.

ปรีชญาณ์ นักฟ้อน. (2562). การประเมินผลนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ: กรณีศึกษาเขตลาดกระบัง. วารสารวิทยาลัยวสงฆ์นครลำปาง, 8(1), 136-145.

ภูษิต ปะอินทร์. (2563). แนวทางการจัดสวัสดิการด้านอาหารตามวิถีพุทธแก่ผู้ต้องขังเรือนจำกลางลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(2), 86-96.

วรพล พินิจ. (2563). การศึกษาการจัดสวัสดิการสำหรับผู้ต้องขังสูงอายุ ภายในเรือนจำกลางนครปฐม.วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 10(2),79-101.

วิบูลย์ จันทรมณี, ภูเบศ พวงแก้ว และปกรณ์กิตติ์ ม่วงประสิทธิ์. (2563). ทัศนคติของผู้ต้องขังต่อโครงการฝึกอบรมวิชาชีพการปูกระเบื้องพื้น: กรณีศึกษาเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่. วารสาร CONNEXION Journal of Humanities and Social Sciences, 9(2), 24-37.

ศิริเพ็ญ จันทร์นิยม. (2562). ความพึงพอใจของผู้ต้องขังชายที่มีต่อการจัดสวัสดิการด้านการพัฒนาจิตใจของกรมราชทัณฑ์ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำกลางเขาบิน จังหวัดราชบุรี. วารสารการวิจัย กาสะลองคำ, 10(1),69-76.

สำราญ ยี่ซ้าย และคณะ. (2561). ความพึงพอใจของผู้ต้องขังที่มีโครงการ กินอิ่ม – นอนอุ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำจังหวัดสงขลา. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 3(2), 1-18.

Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

Erving Goffman. (1961). ASYLUMS: Essays on the social situation of mental patients and other inmates. New York: Dell.

Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological, 25(140), 1-55.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.