การบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบางชนะ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ณัฐวุฒิ ดวงมุสิก
พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร
สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการขยะมูลฝอย และ 2) แนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของผู้บริหารในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางชนะ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลบางชนะ จำนวน 278 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยการกำหนดแบบเจาะจง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบางชนะ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 3.34, S.D = 1.03) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านหลักการกำจัดขยะมูลฝอย ค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{x}= 3.62, S.D = 0.96) อยู่ในระดับมาก รองลงมาคืออยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}= 3.39, S.D = 1.01) ด้านการกักเก็บหรือรองรับขยะมูลฝอย ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}= 3.36, S.D = 1.02) ด้านระบบและเทคโนโลยีการกำจัดขยะมูลฝอย ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 3.29, S.D = 1.04) ด้านการเก็บขนและขนส่งขยะมูลฝอย ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 3.26, S.D = 1.05) และด้านการบริการการเก็บขนขยะมูลฝอย ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 3.11, S.D = 1.08) ตามลำดับ 2) แนวทาง การบริหารจัดการขยะ ได้แก่ (1) การกำหนดให้มีนโยบายเกี่ยวกับการให้บริการการเก็บขนขยะมูลฝอยอย่างชัดเจนและเป็นระบบ (2) การกำหนดเวลาและพื้นที่ในการเก็บขยะมูลฝอยให้ชัดเจน และ (3) การนำ Social Media เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบ

Article Details

How to Cite
ดวงมุสิก ณ. ., ปิยวีโร พ., & ชำนาญพุฒิพร ส. (2023). การบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบางชนะ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(3), 16–29. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.37
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2544). คู่มือแนวทางการลดคัดแยกและใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย. กรุงเทพฯ: กรุงศิลป์การพิมพ์ (1977).

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม. (2560). การจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

กาสัก เต๊ะขันหมาก. (2565). หลักการวิจัยทางสังคมศาสตร.์ กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543).ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

ปิยรัช อยู่รักชาติ (2561). ประสิทธิผลการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลนครรังสิต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.

แผนปฏิบัติการการจัดการขยะมูลฝอย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2560). แผนพัฒนาจังหวัด. สุราษฎร์ธานี: สำนักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี.

พิชญามญชุ์ แขวงเมือง. (2563). การจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พิชญามญชุ์ แขวงเมือง, วิทยา เจริญศิริ และยุภาพร ยุภาศ. (2562). การจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ภมร ขันธหัตถ์ และคณะ. (2565). การจัดการขยะมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหน้าไม้อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), 50-62.

มาลัย เอี่ยมจำเริญ. (2564). การบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 8(15), 21-27.

ศุภัศร์มา ยี่สุ่นศรี. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และเจตคติกบพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สุภัคชัย บดิการ. (2561). การศึกษาแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอย ของเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

Likert, R.A. (1932, May). Technique for the Measurement of Attitudes. ArchPsychological,25(140),1-55.