ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 2) การบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 กับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 และ 4) ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามัธยมนครพนม จำนวน 323 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ แล้วสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. การบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .871
4. ทุกปัจจัยคัดสรรส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา ร่วมกันทำนาย ได้ร้อยละ 77.60
องค์ความรู้จากงานวิจัย คือ สถานศึกษาต้องตระหนักถึงความสำคัญของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สมรรถนะของครูผู้สอน การสนับสนุนทรัพยากรการศึกษา และเครือข่ายความร่วมมือของผู้ปกครองและชุมชน เพื่อให้ได้แนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤตชญา วิเชียรเพริศ. (2558). ปัจจัยพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
แกร่งกล้า สุวรรละโพลง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มัธยมศึกษาเอกชน จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา.
ขวัญศิริ บุญสรรค์. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออก (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชุติกาญจน์ หลวงแสน, หยกแก้ว กมลวรเดช และสุกัญญา รุจิเมธาภาสน. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(9), 23-34.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2561). แนวคิดการบริหารงานวิชาการและทรัพยากรการศึกษา. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารวิชาการและทรัพยากรการศึกษา (หน่วยที่ 1, น. 1-1 - 1-50). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2564). หน่วยที่ 14 ผู้นำกับการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และเครือข่ายการเรียนรู้. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำหรับผู้นำทางการศึกษา (หน่วยที่ 14, น.14-1 - 14-48). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชูชาติ หงส์ขาว, สมคิด สร้อยน้ำ และภูมิ พระรักษา. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(1), 70-86.
ดวงแข มานะปรีชางามเลิศ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ไทพนา ป้อมหิน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยนครพนม.
นิธิวัฒน์ อินทสิทธิ์. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุแบบพหุระดับของประสิทธิผลการบริหารวิชาการ ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(2), 706-720.
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันท์. (2563). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
ศราวุธ ศรีสวัสดิ์. (2562). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 (กาฬสินธุ์) (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศสิกรณ์ ศรีเขาล้าน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 (วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมิทธ์ อุดมมะนะ. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการเรียนการสอนที่มีผลิตภาพสำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่าง (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาริศา จันทร์แรม. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออก (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. (2566). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. นครพนม: กลุ่มนโยบายและแผน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560- 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2560). มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียน มัธยมศึกษา พ.ศ. 2560 (ปรับปรุง พ.ศ. 2562). กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาดา ถาวรชาติ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อดิพงษ์ สุขนาค. (2560). การสังเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นขององค์ประกอบเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อมรรัตน์ ศรีพอ. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาฑิฏิยา โชคดีวัฒนา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
Thompson, G. (2013). Aligning curriculum, instruction, and assessment. Retrieved December 12, 2023, from https://prezi.com /xew2nz2dj0sp/aligningcurriculum-instruction-and-assessment/