การใช้หลักขันติธรรมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ธวัช สุขแก้ว
สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร
กันตภณ หนูทองแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้หลักขันติธรรมและแนวทางการพัฒนาการใช้หลักขันติธรรมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เจ้าหน้าที่เรือนจำ จำนวน 132 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 5 คนเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้หลักขันติธรรมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 3.81, S.D = 0.91) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านความอดทนต่อความลําบาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.21, S.D = 0.78) ด้านความอดทนต่อทุกขเวทนา (gif.latex?\bar{x}= 3.78, S.D = 0.82) และ ด้านความอดทนต่อความเจ็บใจ (gif.latex?\bar{x}= 3.54, S.D = 1.01)  2) แนวทางการพัฒนา การใช้หลักขันติธรรมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เรือนจำ ประกอบด้วย (1) ควรมีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความยากลำบาก เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน ถือเป็นการแบ่งเบาและเป็นให้กำลังใจซึ่งกันและกัน (2) ควรดูแลตนเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่ายเพื่อที่จะได้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสบายใจและสบายกาย (3) ควรจัดกิจกรรมอบรมเกี่ยวกับการให้ข้อคิดในการปฏิบัติงานโดยเฉพาะการจัดอบรมเกี่ยวกับธรรมะซึ่งจะทำให้จิตใจมีความสงบ มีสติในการปฏิบัติงาน และ (4) ควรส่งเสริมและสนับสนุนเจ้าหน้าที่พัฒนาตนเองให้มีความรู้เพิ่มขึ้นเพื่อจะได้มีเลื่อนตำแหน่งหรือได้รับผลตอบแทนจากการปฏิบัติงานจากความสามารถของตนเอง

Article Details

How to Cite
สุขแก้ว ธ., ชำนาญพุฒิพร ส., & หนูทองแก้ว ก. (2024). การใช้หลักขันติธรรมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(1), 204–218. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.15
บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์. (2565). การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในเรือนจำ และทัณฑสถาน. นนทบุรี: สำนักทัณฑวิทยา.

กระทรวงยุติธรรม. (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

บุญมี แท่นแก้ว. (2542). ความจริงของชีวิต. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พระครูสุชาติ กาญจนวงศ์ (ชานนท์จาครโต). (2561). การประยุกต์หลักขันติธรรมเพื่อการเสริมสร้างสังคมสันติสุขการประยุกต์หลักขันติธรรมเพื่อการเสริมสร้างสังคมสันติสุข. วารสารมจรพุทธปัญญาปริทรรศน์, 2(2), 13-22.

พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 17.กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสวัสดิ์ จิตฺตทนฺโต (วงศ์ศิริ) และคณะ. (2564). การประยุกต์ใช้หลักขันติธรรมในการดำเนินชีวิตของชุมชนบ้านเกาะสะบ้า ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(2), 501-508.

ภูมิวิทย์ เวชกามา. (2543). การระดมประชาชนเพื่อพัฒนาชนบทในการบริหารงานชนบท. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). นโยบายธุรกิจและการบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโณ). (2553). ธรรมาภิธาน พจนานุกรม คำสอนพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช.

Conbach, L.J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

Likert, R.A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological, 25(140), 1-55.