การใช้สติสัมปชัญญะในการแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดทางวินัย ของผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ไกรเดช นุ่นจันทร์
พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร
สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mix Methodology Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สติสัมปชัญญะต่อการแก้ไขการกระทำความผิดทางวินัยและปัญหา อุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหาในการกระทำความผิดทางวินัยของผู้ต้องขังหญิง ในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ต้องขังหญิง จำนวน 254 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 7 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้สติสัมปชัญญะต่อการแก้ไขการกระทำความผิดทางวินัยของผู้ต้องขังหญิง ในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมาก  และเมื่อพิจารณารายด้านตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ  ด้านอสัมโมหสัมปชัญญะ (รู้ชัดอย่างไม่หลง) ด้านสัปปายสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าเป็นหน้าที่) ด้านสติ ด้านสาตถกสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าเป็นประโยชน์) และ ด้านโคจรสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าเหมาะสม) 2) ปัญหา อุปสรรค พบว่า ความไม่รู้ชัดถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการแก้ไข การไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ ไม่ยึดกฎหมายระเบียบ และความหลากหลายของผู้ต้องขัง 3) แนวทางการส่งเสริม ได้แก่ (1) ควรสร้างความตระหนักการคิดรอบคอบและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล (2) ควรศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะเกิดจากการแก้ไขปัญหา (3) ควรจัดอบรมบทบาทและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง (4) ควรศึกษาเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล และ (5) ควรอบรมให้ความรู้ด้านกฎระเบียบกฎหมายและหลักธรรมคำสั่งสอนของศาสนาอย่างสม่ำเสมอ

Article Details

How to Cite
นุ่นจันทร์ ไ. ., ปิยวีโร พ., & ชำนาญพุฒิพร ส. (2024). การใช้สติสัมปชัญญะในการแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดทางวินัย ของผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(1), 163–176. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.12
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงยุติธรรม. (2560). รายงานประจำปี 2560 กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม. กรุงเทพฯ: กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม.

จารุวรรณ พึ่งเทียร. (2561). วิธีการพัฒนาจิตให้เกิดพุทธปัญญา. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 2(2),1-19.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

นพคุณ นำจิตรไทย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชายเรือนจำกลางนครสวรรค์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(2), 97-110.

ปฐมพล ไกรยา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชาย : กรณีศึกษาเรือนจำกลางสมุทรปราการ (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประพันธ์ศิริ สุเลารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2565). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. สืบค้นหาเมื่อ 10 สิงหาคม 2565, จาก https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=189

พระมหาสว่าง จตฺตมโล (ถุนกระโทก). (2554). การศึกษาเจตคติ และความเข้าใจเกี่ยวกับเบญจกัลยาณธรรมในพระพุทธศาสนา ศึกษาเฉพาะกรณี: ชุมชนวัดโพธิ์เรียง เขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุภกิจ สุปญฺโญ. (2564). การประยุกต์ใช้สติสัมปชัญญะสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 4(2), 99-107.

พัชรินทร์ คมขำ. (2551).ความต้องการดูแลสุขภาพของผู้ต้องขัง (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อังคณา ลังกาวงศ์. (2552). ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยเสริมเกมวิทยาศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Cronbach, J.L. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

Likert, R.A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological, 25(140), 1-55.