การจัดการความปลอดภัยในโรงเรียน กลุ่มเครือข่ายที่ 42- 43 สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศตวรรษ ถวิลคำ
ศิริรัตน์ ทองมีศรี

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการความปลอดภัยในโรงเรียน 2) เปรียบเทียบตามขนาดโรงเรียนและรูปแบบศาสนาของโรงเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการความปลอดภัยในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 115 คน และการสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 5 คน เครื่องมือคือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 และแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบอิสระ และทดสอบค่าแปรปรวนทางเดียว


ผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดการความปลอดภัย โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2) การเปรียบเทียบการจัดการความปลอดภัยในโรงเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียนไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และจำแนกตามรูปแบบศาสนาของโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการจัดการความปลอดภัยในโรงเรียน ดังนี้ 3.1) ด้านอาคารสถานที่ มีการปลูกฝังให้ทุกคนในโรงเรียนมีจิตสำนึกในการดูแลอาคารสถานที่ 3.2) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย มีการประชุมและประสานขอความร่วมมือกับเกษตรกรในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศร่วมกันรวมถึงการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี 3.3) ด้านการให้บริการความปลอดภัย มีการดำเนินกิจกรรมการอบรมลดอุบัติเหตุโดยการแจกหมวกนิรภัยให้นักเรียน 3.4) ด้านหลักสูตรความปลอดภัย ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรด้านความปลอดภัยรอบด้าน 3.5) ด้านมาตรการรักษาความปลอดภัยในสุขอนามัยนักเรียน ได้จัดทำแนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียน เพื่อให้ครูและนักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจ

Article Details

How to Cite
ถวิลคำ ศ., & ทองมีศรี ศ. (2023). การจัดการความปลอดภัยในโรงเรียน กลุ่มเครือข่ายที่ 42- 43 สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(2), 209–222. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.30
บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา ศรีสุชาติ. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้และคู่มือโรงเรียนปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เขษม มหิงสาเคช. (2562). การศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ช่อจิต หรั่งศิริ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในนักเรียนสายวิชาชีพโรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ). วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(2), 61-72.

ไทยพีบีเอส. (2565). วิเคราะห์ปูมหลังเหตุกราดยิงหนองบัวลำภู. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2565, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/320222

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พัชรา ก้อยชูสกุล และคณะ. (2559). การสร้างเสริมสุขภาพเด็กนักเรียนในโรงเรียน ประถมศึกษาเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

วพีรภาว์ ทองคำ. (2559). การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนสังกัดเทศบาลตำบลบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

วัฒนวงศ์ รัตนวราห และ ไกรสีห์ ทิพยวงศ์. (2554) การศึกษาการจัดการความปลอดภัย บริเวณโรงเรียนภายในจังหวัดนครราชสีมา (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สกุณา บุญธรรม. (2551) สภาพและปัญหาการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1 (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สุชีรา ใจหวัง. (2561). การศึกษาการจัดการความปลอดภัยในสถานศึกยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มศว., 15(28), 50-61.

Turki, A. (2014). Determining the causal relationships among balancedscorecard perspectives on school safety performance: Case of Saudi Arabia. Accident Analysis & Prevention, 68, 57-74.

Cronbach, L.J.(1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper CollinsPublishers.

Flahertv, L.T. (2015). Safety Assessment in Schools: Beyond Risk: The Role ofild Psychiatrists and Other MentalHealthProfessionals. ChAdolescent Psychiatricdlinics of North America, 24 (2), 277-289.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970) Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.