รูปแบบนวัตกรรมการจัดการเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วรายุส ปานนิมิตจิตสมาน
ภคมน โภคะธีรกุล
ฐิติมา โห้ลำยอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อวิเคราะห์บริบทการจัดการเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อระบุปัญหาการจัดการเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ได้แก่ บุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 คน และผู้แทนผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 7 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ


 ผลการวิจัย (1) บริบทการจัดการเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย นโยบาย หลักเกณฑ์ หลักการ กระบวนการดำเนินงาน และหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการจัดการเมือง (2) ปัญหาการจัดการเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย (2.1) ด้านที่อยู่อาศัย พบว่า สภาพที่อยู่อาศัยไม่ได้มาตรฐาน ขาดงบประมาณในการปรับปรุง (2.2) ด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร พบว่า ขาดการบูรณาการช่วยเหลือผู้สูงอายุระหว่างสมาชิกในบ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2.3) ด้านสุขภาพ พบว่า อัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ (2.4) ด้านพื้นที่สาธารณะ พบว่า มีปัญหาด้านความปลอดภัย และขนาดของพื้นที่มีจำกัด (2.5) ด้านระบบขนส่งมวลชน พบว่า มีปัญหาการเข้าถึงการใช้บริการ และ (3) รูปแบบการจัดการเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ คือ การริเริ่มในประเด็นดังนี้ (3.1) พัฒนาที่อยู่อาศัยเดิมให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี (3.2) เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายช่องทาง (3.3) ควรมีระบบการดูแลสุขภาพที่บ้านแบบพึ่งตนเอง (3.4) สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเพิ่มและพัฒนาพื้นที่สาธารณะ และ (3.5) ออกแบบระบบขนส่งมวลชนให้ได้มาตรฐานสากล และจัดบริการที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ  

Article Details

How to Cite
ปานนิมิตจิตสมาน ว., โภคะธีรกุล ภ., & โห้ลำยอง ฐ. (2023). รูปแบบนวัตกรรมการจัดการเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(3), 41–54. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.39
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรมกิจการสูงอายุ. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ: Sustainable change. กรุงเทพฯ: สามลดา.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรมกิจการสูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2565, จาก https://www.dop.go.th/know/side/1//1/1766

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย (Active Ageing Index: AAI). สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2565, จาก http://www.nso.go.th › social › domographic Active Ageing Index.pdf

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund: UNFPA) และองค์การเฮล์พเอจ อินเตอร์เนชั่นแนล (HelpAge International). (2563). รายงาน “สูงวัยในศตวรรษที่21: การเฉลิมฉลองและความท้าทาย (Ageing in the Twenty-First Century: A Celebration and A Challenge)” กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund: UNFPA) และองค์การเฮล์พเอจ อินเตอร์เนชั่นแนล (HelpAge International). สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2565, จากhttps://www.unfpa.org/sites/default/files/pub-

คัมภิรัตน์ แก้วสุวรรณะ. (2560). นวตักรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษา ในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 2(2), 28 – 42.

พินิจ ฟ้าอำนวยผล. (2563). โครงการพัฒนาเครื่องมือประเมินภาวะ Active ageing สำหรับผู้สูงอายุไทย Development of Active ageing assessment tool for the Thai elderly (รายงานการวิจัย). มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

วรนารถ ดวงอุดม. (2555). การพัฒนาสื่อที่เหมาะสมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและจังหวัดแพร่. วารสารจันทรเกษมสาร, 18(34), 13 – 22.

ณัชชา โอเจริญ. (2559). คุณภาพมาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัยของรถโดยสาร. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2565, จาก https://tdri.or.th/2016/06/2016-06-22/

สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์. (2558). การปฏิรูปการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในประเทศญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2565, https://tdri.or.th/2015/07/aging-society-in-japan/

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2565). กทม. ร่างแผนฯ ด้านผู้สูงอายุ กทม. ระยะ 3 เน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2565, จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/ TCATG221101142623122

สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร, สำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร. (2565). นโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร.

เสาวภา พรสิริพงษ์, ธีรพงษ์ บุญรักษา และสุภาพร ฤดีจำเริญ. (2550). ผู้สูงอายุไทย...สูงวัยอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 26(1-2), 132-142.

อาริยา สุขโต. (2562). รูปแบบการเดินทางและขนส่งสาธารณะกับสังคมผู้สูงอายุ. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2565, https://web.parliament.go.th/doc.php?type= file&mt=application2Fpdf&d=parcy&url=download%2Farticle%2Farticle_20210423152404.pdf

Maslow, A.H. (1943). A Theory of Human Motivation. Psychological Review, 50 (4), 370 - 396.

Dubrin, A. J., & Ireland, R. (1993). Management and organization (2nd ed.). Ohio: South Westem Publishing Company.

Fayol, H. (1949). General and Industrial Management. London: Sir Isaac Pitman & Sons.

Gulick, L.R. & Urwick, L. (1973). The Science of Administration. New York: Columbia University.

Peek, C., Im-em, W. & Tangthanaseth, R. (2015). The state of Thailand’s population report 2015: Features of Thai families in the era of low fertility and longevity. The United Nations Population Fund and National Economic and Social Development Board. Retrieved December 31, 2022, from https://thailand.unfpa.org/sites/default/files/pubpdf/State%20of%20Thailand%20Population%20report%202015-Thai%20Family_en.pdf

United Nation Population Fund. (1992). The State of World Population 1992. New York: UNFPA.

World Health Organization. (2019).Ageing and health. Retrieved December 31, 2022, from https://www.who.int/ageing/en/

World Health Organization. (2007). Global Age-friendly Cities: A Guide. World Health Organization. Retrieved December 31, 2022, file:///C:/Users/User/Downloads/ 9789241547307 _eng.pdf