การส่งเสริมพฤติกรรมทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเทศบาล 5 อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ดวงดาว พุฒยอด
กันตภณ หนูทองแก้ว
สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมพฤติกรรมทางการเมืองและแนวทางการพัฒนา การส่งเสริมพฤติกรรมทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเทศบาล 5 อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 205 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน
และ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 7 คนเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมพฤติกรรมทางการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยแก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการนำไปปฏิบัติ รองลงมา ด้านทัศนคติ และด้านความรู้ และ 2) แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมทางการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตย ประกอบด้วย (1) การให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยในรูปแบบที่หลากหลาย  (2) การบรรจุเนื้อหาการปกครองระบอบประชาธิปไตยในหลักสูตรทุกระดับชั้น (3) การส่งเสริมให้มีกิจกรรมการรณรงค์ระบอบประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง (4) การส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกที่เน้นการปฏิบัติจริง (5) การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีเวทีในการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมืองภายใต้การดูแลที่ชัดเจน (6) การสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มทางการเมืองหรือชมรมทางการเมือง (7) การให้ความสำคัญกับข้อมูลหรือข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้องและเป็นอิสระ และ (8) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียน

Article Details

How to Cite
พุฒยอด ด., หนูทองแก้ว ก., & ชำนาญพุฒิพร ส. (2023). การส่งเสริมพฤติกรรมทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเทศบาล 5 อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(3), 231–245. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.52
บท
บทความวิจัย

References

จักรพันธ์ วงษ์บูรณาวาทย์. (2563). การบริหารราชการไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โชคชัย ศรีรักษา. (2565). การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตย. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 5(1), 23-37.

ฐิตพัฒน์ สตางค์จันทร์ และคณะ. (2561). การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 343-365.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

พิกุล มีมานะ และสนุก สิงห์มาตร. (2560). รูปแบบพฤติกรรมการแสดงออกทางการเมืองตามวิถีประชาธิปไตย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(2), 135-149.

วชิระ เสระทอง และเพ็ญณี แนรอท. (2562). การพัฒนาประชาธิปไตยสาหรับเยาวชนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5, 593-601.

วีรดา ชุลีกราน. (2544). แนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2565). การพัฒนาประเทศ. ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2565, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2562

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580/ สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2563 – 2565). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

Conbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

Likert, R.A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological, 25(140),1-55.