การใช้หลักอคติธรรมของประชาชนในการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลนาหมอบุญ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

วาสนา เนาว์สุวรรณ
พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร
สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร

บทคัดย่อ

การเลือกตั้งตัวแทนของประชาชนเพื่อเป็นตัวแทนในการบริหารท้องถิ่นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพื่อหากตัดสินใจเลือกตั้งได้ถูกต้องย่อมนำมาซึ่งการพัฒนาท้องถิ่น แต่หากตัดสินใจเลือกตั้งผิดพลาด ย่อมนำความเสียหายต่อท้องถิ่นได้เช่นกัน ดังนั้นบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การใช้หลักอคติธรรมของประชาชนในการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมอบุญ และ 2) แนวทางการพัฒนาการใช้หลักอคติธรรมของประชาชนในการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมอบุญ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ จำนวน 374 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชน รวม 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา  


ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้หลักอคติธรรมของประชาชนในการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมอบุญ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปาน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านหลักโมหาคติ (ความลำเอียงเพราะความหลง) อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านหลักโทสาคติ (ความลำเอียงเพราะความโกรธหรือความขัดเคืองกัน) อยู่ในระดับน้อย และ 2) แนวทาง การพัฒนาการใช้หลักอคติธรรมของประชาชนในการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมอบุญ พบว่า ประชาชนควร (1) ยึดความถูกต้องปราศจากอคติ (2) ถือตนเป็นกลางและซื่อสัตย์ (3) พิจารณานโยบายและผลงาน และ (4) ใช้หลักการเหตุและผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนก จันทร์ขจร. (2549). คู่มือธรรมเพื่อชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: หจก.จิรรัช.

กิตติพัฒน์ คงมะกล่ำ. (2564). การตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารมนุษยสังคมสาร (มสส.), 19(3), 57-79.

โกวิทย์ พวงงาม. (2546). การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ขวัญหทัย แจ่มแจ้ง. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดสุวรรณ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี. อินเตอร์ พริ้นท์.

พระครูศรีธรรมวิเทศ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 6(2), 23-32.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พระมหาสังคม ชยานนฺโท (ช่างเหล็ก), ชาญชัย ฮวดศรีและ สุรพล พรมกุล. (2564). พฤติกรรมการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. Journal of Modern Learning Development, 6(5),136-180.

มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. (2563). ประไตรปิฎกฉบับภาษาไทย มหามกุฎราชวิทยาลัย. นครปฐม: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

เศรษฐพร หนุนชู, กิตติคุณ ด้วงสงค์ แลพระมหาโชตนิพิฐพนธ์ สทุธจิตฺโต. (2560). การเมืองการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, 2(2),109-122.

สุพัฒน์จิตร ลาดบัวขาว. (2561). การเลือกตั้งท้องถิ่น: ข้อจำกัดของกระบวนการประชาธิปไตย Local Elections: Limitation of Processes Democracy. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 36(2),169-197.

สุภี นะที และสุริยะ ประภายสาธก. (2564). การตัดสินใจในการเลือกตั้งของประชาชนแขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(10), 171-182.

Conbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

Likert, R.A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological, 25(140),1-55.