การกำกับดูแลกิจการกับการทุจริตโดยการตกแต่งงบการเงินของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

วไลรัตน์ ผ่องจิตต์
กอบกูล จันทรโคลิกา
ถนอมศักดิ์ สุวรรณน้อย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านองค์ประกอบและคุณสมบัติของกรรมการอิสระที่ช่วยลดการทุจริตโดยการตกแต่งงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน และ 2) เพื่อศึกษาเหตุการณ์ที่บ่งบอกแนวโน้มการเกิดการทุจริตในบริษัทจดทะเบียน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและด้านการทุจริตฉ้อโกงเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีการทุจริตและไม่มีการทุจริตโดยการตกแต่งงบการเงิน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับคณะกรรมการบริษัทที่มีการทุจริตและไม่มีการทุจริตโดยการตกแต่งงบการเงิน 24 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอุปนัยหรือเชิงตรรกะ ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 องค์ประกอบและคุณสมบัติของกรรมการอิสระที่ช่วยลดการทุจริตประกอบด้วย (1) จำนวนกรรมการอิสระขึ้นกับจำนวนบริษัทย่อยของบริษัทจดทะเบียน (2) ที่มาของกรรมการอิสระไม่ควรมาจากบุคคลที่เป็นเพื่อนของฝ่ายจัดการหรือผู้มีอำนาจควบคุมกิจการ (3) ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 6 ปี และ (4) อายุไม่เกิน 70 ปี
2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เหตุการณ์ที่บ่งบอกการเกิดการทุจริตโดยการตกแต่งงบการเงินพบประเด็นหลัก ๆ ดังนี้ ส่งรายงานการเงินล่าช้า ผู้สอบบัญชีไม่รับรองงบการเงิน กรรมการลาออก ประชุมกรรมการตรวจสอบมากกว่า 10 ครั้งต่อปี และมีการเปลี่ยนชื่อบริษัท
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยควรมีหน่วยงานอิสระที่รวบรวมบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการเป็นกรรมการอิสระ

Article Details

How to Cite
ผ่องจิตต์ ว., จันทรโคลิกา ก., & สุวรรณน้อย ถ. (2023). การกำกับดูแลกิจการกับการทุจริตโดยการตกแต่งงบการเงินของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(2), 179–194. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.28
บท
บทความวิจัย

References

จักรพันธ์ วงษาเทพ และ นงค์นิตย์ จันทร์จรัส. (2564). โครงสร้างคณะกรรมการบริหารบริษัทและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนกลุ่มบริการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 174-184.

ชยันต์ ตันติวัสดาการ. (2550). เศรษฐศาสตร์จุลภาค: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2541). แนวทางการปฏิบัติของคณะกรรมการตรวจสอบ. กรุงเทพฯ: บุญศิริ.

ประภัสสร โปร่งวิทยากร และคณะ. (2560). บทบาทของคณะกรรมการต่อผลการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์,11(23), 87-102.

ภูดิท ไชยผล, สร้อยเพชร ลิสนี, ศริวรรณ พูลเขตกิจ และมนตรี ช่วยชู. (2563). อิทธิพลของคณะกรรมการตรวจสอบที่่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ. UTCC Academic Day ครั้งที่ 4. มิถุนายน 5, 2165-2182.

ภัทรพงศ์ เจริญกิจจารุกร. (2556). Sarbanes-Oxley Act และการกำกับดูแลกิจการในต่างประเทศสู่ธรรมาภิบาลในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 35(138),92-119.

วรวิทย์ เพ็ชรรื่น. (2561). พฤติกรรมการตกแต่งบัญชีและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 13(1), 29-40.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2565). สถิติการดำเนินคดีของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.). สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2565, จาก http://market.sec.or.th/public/idisc/th/Enforce

อัฐวุฒิ ปภังกร. (2556). ทฤษฎีบรรษัทภิบาล. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2565, จาก https://thaicg.wordpress.com

CHENG Xinsheng, JI Yingxin & WANG Lili. (2008). The Impact of Corporate Governance on Financial Control—Evidence from Chinese listed Companies in the Manufacturing Industry. Higher Education Press and Springer, 2(3), 385–396.

Cressey, D. R. (1953). Other people’s money: a study in the social psychology of Embezzlement. Glencoe, IL: The Free Press.

Eliezer M. Fich & Anil Shivdasani. (2005). Financial Fraud, Director Reputation, and Shareholder Wealth. Journal of Financial Economics, 86(2), 306-336.

Freeman, R. E. (1984). Strategic management: A stakeholder approach. Boston: Pitman.

Gomes, A., (2000). Going public with out Governace : Managrial Reputation Effect. The Journal of Finance, 55(2), 615-646.

Gould & Kolb. (1965). A dictionary of the social sciences. Revue française de sociologie, 6(4), 493.

Hatice Uzun, Samuel H. Szewczyk & Raj Varma. (2004). Board Composition and Corporate Fraud. Financial Analysts Journal, 60(3), 33-43.

Jensen, M.C. & Meckling, W.H. (1976). Theory of the Firm: Managerial Behavior, Agency Costs and Ownership Structure. Journal of Finance Economics, 3(4), 305-360.

Langnan Chen & Weibin Lin. (2007). Corporate Governance and Fraud: Evidence from China. Corporate Ownership & Control, 4(3), i39-i45.

Mark S. Beasley. (1996). An Empirical Analysis of the Relation between the Board of Director Composition and Financial Statement Fraud. The Accounting Review, 71(4), 443-465.

Nicole Maldonado. (2021). The World Bank’s Evolving Concept of Good Governance and Its Impact on Human Rights. Retrieved December 12, 2021, from https:// warwick.ac.uk/fac/soc/csgr/news/ doctoral_workshop_on/maldonado_nicole_paperfinal_ii.doc

Roy Kouwenberg & Visit Phunnarungsi. (2012). Corporate Governance, Violation and Market Reaction. Pacific-Basin Finance Journal, 21(1), 881-898.

Simon Herbert A. (1947). Administrative Behavior. New York: Macmillian.

Suraj Srinivasan. (2005). Consequences of Financial Reporting Failure for Outside Directors: Evidence form Accounting Restatements and Audit Committee Member. Journal of Accounting Research, 43(2), 291-334.

Srivastava, Mock and Turner. (2005). Bayesian Fraud Risk Formula for Financial Statement Audits. A Journal of Accounting Finance and Business Studies, 45(1), 1-14.

Wolfe & Hermanson. (2004). The Fraud Diamond: Considering the Four Elements of Fraud. Retrieved December 12, 2021, from http://www.nysscpa.org/printversions/cpaj/2004/1204/ p38.htm

World Bank. (1989). Sub-Saharan Africa from Crisis to Sutanable Growth. Washington DC: World Bank.

Yung-I Lou & Ming-Long Wang. (2009). Fraud Risk Factor of, the Fraud Triangle Assessing the likelihood of Fraudulent Financial Reporting. Journal of Business & Economics Research, 7(2), 61-78.