นวัตกรรมการจัดการขยะครัวเรือนแบบบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการขยะแบบบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้วิธีการวิเคราะห์แบบแก่นสาระ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตำบล ไม่มีสถานที่ทิ้งขยะ งบประมาณจำกัด ขาดบุคลากรดำเนินงาน ขาดความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา ขาดการมีส่วนร่วม และขาดการรับผิดชอบของประชาชนในชุมชน 2) แนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการขยะแบบบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีการสร้างนวัตกรรมเพื่อการจัดการขยะแบบบูรณาการโดยเรียงลำดับความสำคัญจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 16 คน ดังนี้ นวัตกรรมการทำปุ๋ยหมัก นวัตกรรมเลี้ยงไส้เดือนกำจัดขยะอินทรีย์ นวัตกรรมขยะไร้ถัง นวัตกรรมเตาเผาขยะ และนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ 3) ข้อเสนอแนะในการจัดการขยะแบบบูรณาการ ผู้นำองค์กร ควรมีรูปแบบการบริหารที่มีวิสัยทัศน์ สร้างแรงจูงใจ มีกลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน มีโครงสร้างองค์กรและอัตรากำลังที่เหมาะสม มีระบบงานการปฏิบัติงาน มีค่านิยมร่วมที่ดีในการปฏิบัติงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2559). รายงานสถานการณ์มลพิษในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2565, จาก http://www.pcd.go.th
กรมควบคุมมลพิษ. (2562). กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย. กรุงเทพฯ: กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุม.
นภนต์สันต์ ร่อนทองชัย (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย: กรณีศึกษา เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิสุทธิ์ เพียรมนกุล และ กริชชาติ ว่องไวลิขิต. (2562). ขยะไม่มีที่อยู่. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2565, จาก https://www.greennetworkthailand.com/ขยะไม่มีที่อยู่/
ประพันธ์พงศ์ ชิณพงษ์. (2551). ความหมายของการมีส่วนร่วม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
ราเชนทร์ พูลทรัพย์. (2565). การจัดการองค์ความรู้และถ่ายทอดนวัตกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนแบบบูรณาการ ในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน, 3(2), 54-66.
สันชัย พรมสิทธิ์. (2562). การจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(1),67-81.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์: แนวคิด และทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2558). การบริหารนวัตกรรมแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โครงการส่งเสริมการแต่งตำรา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสาวลักษณ์ ศักดิ์สิทธิ์และจุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2560). แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดปทุมธานี. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560, อาคารพจน์สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อนันต์ โพธิกุล. (2561). การบริหารจัดการขยะชุมชนของเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี.วิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งเอเชียแปซิฟิค สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(13), 107-121.
Drucker, P.F. (2006). The Effective Executive: The Definitive Guide to Getting the Right Things Done (Harperbusiness Essentials). New York: Harper Business.
Keeley, L., Walters, H., Pikkel, R. & Quinn, B. (2013).Ten types of innovation: The discipline of building breakthroughs. New York: John Wiley & Sons.
Mongkolnchaiarunya, J. (1999). Implementing waste management projects in an effective way in Cambodia, Lao PDR, Vietnam and Thailand. CUC Urban Environmental Management Outreach Series. Thailand: AIT.