การศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฝรั่งอินทรีย์ (บ้านตะคร้อ) เพื่อขยายตลาดไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่

Main Article Content

สิริกาญจน์ ทวีพิธานันท์
ลักษมี งามมีศรี
เจนจิรา เงินจันทร์
มานิตย์ สิงห์ทองชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์ที่ให้มีความน่าสนใจมากขึ้นและตอบสนองกับกลุ่มเป้าหมายใหม่ 2. เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการตลาดในผลิตภัณฑ์ใหม่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์ เป็นการวิจัยรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)โดยมีการการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์ (บ้านตะคร้อ) เลขที่ 4 หมู่ 1 ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 15 คน และกลุ่มผู้สนใจ/ลูกค้า ที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ฝรั่งอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์ (บ้านตะคร้อ) จากผู้สนใจ /ลูกค้า จำนวน 40 คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการบรรยายเชิงพรรณนา


ผลการศึกษา พบว่า แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การวางแผนรวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์  2. คัดเลือกผลิตภัณฑ์ในการพัฒนาและส่งเสริม 3. พัฒนาขั้นตอนและกระบวนการการผลิต 4. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และฉลาก และได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) ฝรั่งคลุกพริกเกลือกะปิ 2) ฝรั่งอบสามรส 3) น้ำฝรั่งอินทรีย์ ซึ่งนอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว เพื่อให้กลุ่มมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น จึงดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการตลาด การประชาสัมพันธ์ที่สามารถสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายให้มีความหลากหลาย โดยแบ่งเป็นการส่งเสริมการตลาดแบบออฟไลน์ เช่น ป้าย โลโก้ และการออกร้านจำหน่ายสินค้าในงานมหกรรมส่งเสริมของหน่วยงานต่าง ๆ และกิจกรรมการท่องเที่ยว กิจกรรมการส่งเสริมการตลาดแบบออนไลน์ โดยมีการจัดกิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกและผู้ประกอบการที่สนใจด้านการตลาดออนไลน์ และส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มได้ถ่ายทอดผลิตภัณฑ์และบริการ ผ่านการวางแผน การสนับสนุน และการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อจัดทำสื่อวิดีโอประชาสัมพันธ์ต่อไป

Article Details

How to Cite
ทวีพิธานันท์ ส., งามมีศรี ล., เงินจันทร์ เ., & สิงห์ทองชัย ม. (2023). การศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฝรั่งอินทรีย์ (บ้านตะคร้อ) เพื่อขยายตลาดไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 172–188. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.12
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2556). แผนจัดการคุมลพิษ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม.

กฤษณะ ดาราเรือง. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ทางการตลาดวิสาหกิจชุมชนบ้านเขาแหลม จังหวัดนครสวรรค์. สุทธิปริทัศน์, 31(100), 130–143.

กันย์ณิภัฐ สุวรรณอ่อน. (2562). การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องแกง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงปักษ์ใต้บ้านโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา. รายงานสืบเนื่องการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 11, วันที่ 17 กรกฎาคม 2563, 1900-1915.

ดลนัสม์ โพธิ์ฉาย. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลไม้พรีเมียม กรณีศึกษาผู้บริโภค ในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรียาณัชก์ แจ่มไทย. (2564). กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งอินทรีย์. สัมภาษณ์, 15 มิถุนายน.

ปาณเดชา ทองเลิศ. (2556). SWOT Analysis. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2564, จาก https://www.gotoknow. org/posts/430423

ภาสกร รอดแผลง. (2564). การพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์งอบกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานงอบไทยลาวแง้วทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 35-45.

ภูวกฤษ รุ่งทิวากรกิจ. (2565). การส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรประเภทผลไม้. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(2), 73-82.

มนันยา นันทสาร, เกศสุดา สิทธิสันติกุล และ วราภรณ์ นันทะเสน. (2564). การวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเกษตรพระวรุณ,18(1),65-102.

ลักษมี ทุ่งหว้า. (2561). การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการทีมงาน : กรณีศึกษา กลุ่มแม่บ้านชุมชนเปรมฤทัย เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(1), 61-65.

วิชิตชัย ชาญสงคราม. 2560. การวิเคราะห์การเน่าเสียของลองกองโดยเทคโนโลยีจมูกอิเล็กทรอนิกส์ (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักบริหารการสินค้าทั่วไป. (2556). สินค้าที่มีมาตรการ นำเข้า-ส่งออก. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารการสินค้าทั่วไป.

สุภัทร คำมุงคุณ. (2562). การสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อนุวัฒน์ ชมภูปัญญา และ ธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). การพัฒนาศักยภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่ชุมชนท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. สถาบันพัฒนาการเรียนรู้ศาสตร์สมัยใหม่, 7(8), 414-430.

อมรรัตน์ ตะโคดม, ปกรณ์ สัจจพงษ์ และ อุเทน เลานำทา. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่กับความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(6), 169-179.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2560). “วิสาหกิจชุมชน” ปฏิทรรศน์ในการแข่งขันทางธุรกิจ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 37(2), 131-147.