การบริหารจัดการขยะในสถานศึกษาตามแนวคิดมิติใหม่ไร้ถังของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2

Main Article Content

ชนกานต์ ศิวิลัย
สมใจ สืบเสาะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการขยะในสถานศึกษา 2)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการขยะในสถานศึกษาตามแนวคิดมิติใหม่ไร้ถังของสถานศึกษา จำแนกตาม ขนาดโรงเรียนและเขตอำเภอ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดการดำเนินงานตามนโยบายด้านการจัดการขยะของกระทรวงศึกษาธิการเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 273 คน ใช้วิธีคัดเลือกขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่ มอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า


1.การบริหารจัดการขยะในสถานศึกษาตามแนวคิดมิติใหม่ไร้ถังของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2  ภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 


2.การเปรียบเทียบการบริหารจัดการขยะในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่อยู่ในขนาดโรงเรียนต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการขยะในสถานศึกษาภาพรวมไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้บริหารและครูที่อยู่ในเขตอำเภอต่างกันมีความคิดเห็นภาพรวมต่อการบริหารจัดการขยะในสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 


องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาสามารถนำไปใช้วางแผนการบริหารจัดการขยะในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2564). ข่าวสารสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม.

กิตติมา เนตรพุกกณะ. (2563). การพัฒนากระบวนการจัดการขยะของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา อำเภอ

เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ภูเก็ต.

จันจิรา ขานพล. (2560). แนวทางการพัฒนาบริหารจัดการขยะในสถานศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศา

สตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนาธร จูงวงษ์สุข. (2562). การบริหารจัดการขยะตามแนวทางมิติใหม่ไร้ถังของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐวุฒิ ผดุงเพียร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะ (วิทยานิพนธ์ปริญญา

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปริยวิศว์ วงษ์จันทร์. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะในสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนปลอด

ขยะ โรงเรียนขลุงรัชดาภิเษก จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ไพบูลย์ โพธิ์สุวรรณ. (2562). แนวคิดมิติใหม่ไร้ถัง. มิติใหม่ชุมชนไทยไร้ถัง. กรุงเทพฯ: ส เจริญ การพิมพ์.

อริศรา สะสม. (2565). S. W. MODEL: การบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศา

สตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational

and Psychological Measurement, 30(3), 607–608.

The U.S. Environmental Protection Agency. (2015). Report on the 2015 U.S. Environmental Protection

Agency (EPA). Washington, DC: U.S. EPA.

Zhiyong, H., Li, J., Zhao, H., Cheng, J., & Liu, Y. (2019). Characteristics and management modes of

domestic waste in rural areas of developing countries: A case study of China. Environmental

Science and Pollution Research International, 26(9), 8485–8501.