แนวทางการดำเนินงานของศูนย์ดิจิทัลชุมชน ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานศูนย์ดิจิทัลชุมชน 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์ดิจิทัลชุมชน 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นผู้รับบริการเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์ดิจิทัลชุมชน 4) เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินงานศูนย์ดิจิทัลชุมชน การวิจัยนี้เป็นเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดขั้นตอนการดำเนินงาน 5 ด้าน พื้นที่วิจัย ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้รับผิดชอบ จำนวน 89 คน ผู้รับบริการ จำนวน 362 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าทีและวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า1. การดำเนินงานศูนย์ดิจิทัลชุมชน ตามความคิดเห็นผู้รับผิดชอบและผู้รับบริการ ภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์ดิจิทัลชุมชน จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน ภาพรวมไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นผู้รับบริการเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์ดิจิทัลชุมชน จำแนกตาม เพศและระดับการศึกษา ภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ4. แนวทางการดำเนินงานศูนย์ดิจิทัลชุมชน พบว่า ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด แนวทางควรมีสื่อที่ทันสมัย สถานที่เป็นเอกเทศ มีการจัดตั้งงบประมาณมีเจ้าหน้าที่มีความรู้ มีกิจกรรมหลากหลาย และให้ประชาชนมีส่วนร่วม
องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารและหน่วยงานการศึกษา สามารถนำไปใช้วางแผนและพัฒนาศูนย์ดิจิทัลชุมชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ไกรยส ภัทราวาท และกำจร ตติยกวี. (2559,14 ตุลาคม). ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ ไทยแลนด์ 4.0. ไทยโพสต์.
https://www.thaihealth.or.th/Content/33499
ดิษฎาพันธ์ บุตรกุล. (2562). การส่งเสริมความพร้อมการดำเนินงานของศูนย์ดิจิทัลชุมชนเพื่อการ เรียนรู้ตลอดชีวิต [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
ศิลปากร].
เบญจภัคค์ เจริญมหาวิทย์. (2563). พรมแดนความรู้ในโลกยุคดิจิทัล. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(2), 1-13.
มณฑิรา กิตติวราภรณ์. (2554). การศึกษาสภาพการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนบ้านโคกกระท้อน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี [วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). กรอบแนวคิดพัฒนาการเศรษฐกิจ/การศึกษาไทย. ใน เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อปฏิรูป
ระบบการประเมินและประกันคุณภาพการศึกษา.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2565). แผนปฏิบัติการปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. ข้อมูลพื้นฐาน
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2563). “ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน”. https://dcc.onde.go.th/about-us
สำนักงาน บริษัท ข่าวสด จำกัด. (2563, 29 สิงหาคม). ศูนย์ดิจิทัลชุมชน. ข่าวสด.https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_4878822