ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และ 3) เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำนวน 295 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครซี่ มอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นําเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 มีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกันระดับสูง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
งานวิจัยนี้ค้นพบว่า ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจที่ช่วยเสริมสร้างและรักษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู เพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดและพัฒนาสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขวัญใจ เกตุอุดม. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษากัปประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
จันทรานี สงวนนาม. (2558). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: บุ๊ค พอยท์.
จิรปรียา แผ่นสุวรรณ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติ งานของครูโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอแก้งสนาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2562). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2560). ภาวะผู้นําในองค์การ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2561). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2560). ผู้นําที่ดีไม่มีเสื่อม. กรุงเทพฯ: อนิเมทกรุ๊ป.
พรสวัสดิ์ ศิรศาตนันท์. (2560). ภาวะผู้นําทางการศึกษา. จันทบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ธีรดา สืบวงษ์ชัย. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
ธร สุนทรายุทธ. (2561). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุล.
เย็นฤดี สอนสุราษฎร์. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาใน สังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ยงยุทธ เกษสาคร. (2558). ภาวะผู้นําและการทำงานเป็นทีม. กรุงเทพฯ: เอส แอนด์ จี กราฟฟิค.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ.(2560).การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซ เท็กซ์.
สัมมา รธนิธย์. (2556). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. พิมพ์คร้ังที่ 4 .กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีจำกัด.
สุเมธ เดียวอิศเรศ. (2553). พฤติกรรมผู้นําทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2559). ภาวะความเป็นผู้นํา. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สุนทร โคตรบรรเทา. (2561), ภาวะผู้นําในองค์การการศึกษา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (2559). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2559 จันทบุรี: กลุ่มนโยบายและแผน.
หวน พินธุพันธ์. (2558). นักบริหารมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.
Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2001). Educational administration : Theory research practice (6th ed.). Singapore: McGraw-Hill Book Co-singapore for and export.
Owens, R. G. (2004). Organizational behavior in education. (8th ed.). Boston, MA: Pearson Education.