การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1

Main Article Content

ธนากร ชมเชย
สมใจ สืบเสาะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค ประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 1 ตามความของเห็นครู โดยจำแนกตามระดับการศึกษา และขนาดของสถานศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดการบริหารวิชาการของผู้บริหารในยุคประเทศไทย 4.0 เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1  ปีการศึกษา 2565 จำนวน 297 คน ใช้วิธีคัดเลือกขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่ มอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง ทำการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า1.การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2.การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำแนกระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียน โดยภาพรวม และรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาสามารถนำไปใช้วางแผนการบริหารงานวิชาการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


 


 


 

Article Details

How to Cite
ชมเชย ธ., & สืบเสาะ ส. . (2024). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(2), 33–47. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.23
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: ที.เอส.บี.โปรดักส์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จีณัญญาพัจน์ โครตหลักคำ. (2558). แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกามัธยมศึกษา เขต 19. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาสารคาม.

ชวลิต โพธิ์นคร. (2560). ห้องสมุดดิจิทัลกับการก้าวสู่ยุค Thailand 4.0 การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2559 และประชุมวิชาการวันที่ 23 มีนาคม 2560. กรุงเทพฯ:สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี.

ไทยคู่ฟ้า. (9 มิถุนายน 2559). Thailand 4.0 ขับเคลื่อนอนาคตสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2565, จาก https://spm.thaigov.go.th.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

พระปรเมศวร์ ปญฺญาวชิโร. (2554). ความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542) แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ

ที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.

พระอนันต์ ธมฺมวิริโย. (2564). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1.ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

สายทอง ประยูรคำ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับการประกันคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อานุภาพ กำแหงหาญ. (2561). สมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.