การจัดการห่วงโซ่อุปทานหนูพุกเชิงพาณิชย์ในจังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

ชัญญพัชร์ จารุวัชรเศรษฐ์
กรรณิการ์ มิ่งเมือง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมีการเติบโตของสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ๆ อาจมีที่มาจากการบริโภคของคนเฉพาะท้องถิ่นหรือความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม การหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้จึงเป็นแนวทางหนึ่งของประชาชน การเลี้ยงปศุสัตว์จึงกลายเป็นแนวทางหนึ่งที่ประชาชนเลือกเป็นอาชีพเสริม โดยเฉพาะสัตว์ที่มีกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะเจาะจง เช่น หนูพุก จึงเป็นสัตว์ที่เกษตรกรเล็งเห็นแนวโน้มความต้องการด้านบริโภคเพิ่มมากขึ้น และด้วยการเลี้ยงทำได้ง่าย การลงทุนค่อนข้างต่ำ แต่สามารถสร้างรายได้สูง บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของการเลี้ยงหนูพุกเชิงพาณิชย์ในจังหวัดอุทัยธานี เพื่อนำรูปแบบถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติในการจัดการห่วงโซ่อุปทานหนูพุกเชิงพาณิชย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ สัมภาษณ์แบบเชิงลึกโดยการสอบถามเกษตรกรผู้เลี้ยงหนูพุกเชิงพาณิชย์ในจังหวัดอุทัยธานีทั้งหมด 7 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการบรรยายเชิงพรรณนา


ผลการศึกษาพบว่าการบริหารจัดการธุรกิจฟาร์มหนูพุกเป็นลักษณะธุรกิจขนาดเล็กมีเจ้าของเพียงคนเดียว มีปริมาณการผลิตเฉลี่ย 0.82 กิโลกรัมต่อตัว ในระยะเวลาการเลี้ยง 4 เดือน เป็นการเลี้ยงในโรงเรือนแบบบ่อปูน มีต้นทุนการผลิตทางด้านต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 68.74 บาทต่อผลิตภัณฑ์เนื้อสด 1 กิโลกรัม การดำเนินกิจกรรมภายใต้ห่วงโซ่อุปทานของการเลี้ยงหนูพุกเชิงพาณิชย์มีตั้งแต่ การจัดหาปัจจัยการผลิต การเลี้ยง การตลาดจนถึงผู้บริโภค ซึ่งมีความต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันโดยเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็นหลักสำคัญ จากการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของการเลี้ยงหนูพุกเชิงพาณิชย์ในจังหวัดอุทัยธานีนั้นพบว่า เกษตรกรมีความเสี่ยงสูงในห่วงโซ่ในหลายด้าน เช่น ทางด้านการบริหารจัดการและดำเนินการเพราะไม่มีการควบคุมสภาพแวดล้อม ความเสี่ยงด้านการตลาด เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคเป็นกลุ่มเฉพาะ และเกษตรกรไม่ขึ้นทะเบียนฟาร์ม รวมทั้งความเสี่ยงทางด้านการขนส่ง เนื่องจากการขนส่งพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ต้องใช้นโยบายร่วมกับการขนส่งสัตว์ปีก แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากเกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันจึงสามารถกำหนดราคาขายสินค้าได้ และปัญหาหลักที่สำคัญคือกิจกรรมสนับสนุนยังไม่ได้รับอย่างเพียงพอตั้งแต่เทคโนโลยีในการควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือน การตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ งบการลงทุนเพื่อให้เกษตรกรได้รับการส่งเสริมเพื่อขยายปริมาณการเลี้ยงและสร้างรายได้ในระบบเศรษฐกิจจึงควรมีการสนับสนุนทางด้านกิจกรรมสนับสนุนเพื่อขยายช่องทางการผลิตทางด้านปศุสัตว์ให้มีความหลากหลายทางเลือกต่อไป

Article Details

How to Cite
จารุวัชรเศรษฐ์ ช., & มิ่งเมือง ก. (2023). การจัดการห่วงโซ่อุปทานหนูพุกเชิงพาณิชย์ในจังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 1–12. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.1
บท
บทความวิจัย

References

กานดา วัฒนสิน. (2547). การวิเคราะห์และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตไก่เนื้อระหว่างเทคโนโลยีของโรงเรือนแบบเปิดและโรงเรือนดัดแปลงแบบปิดของเกษตรกรรายย่อยจังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

การุณย์ มะโนใจ. (2563). เลี้ยงหนูพุกพันธุ์พื้นเมืองขาย สร้างรายได้เรือนแสน. นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน, 32(723), 61-83.

กุลภา กุลดิลก และคณะ. (2563). การวิเคราะห์โซ่อุปทานของปลาช่อนในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร.

เฉลิมพล พุ่มพวง และฐิติมา วงศ์อินตา. (2562). การวิเคราะห์ปัจจัยเลี่ยงในโซ่อุปทานปลาสวยงามของจังหวัดราชบุรี. Veridian E-Journal, Silapakorn University,12(1), 679-697.

ชมัยพร ชูงาน. (2561). การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าเพื่อพัฒนาคลัสเตอร์กุ้ง กรณีศึกษา : สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำสามร้อยยอด-ปราณบุรี. เอกสารวิชาการฉบับที่ 5/2561 กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ธนวัฒน์ ศรีติสาร. (2561). ห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ (วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พวงทอง บุญทรง. (2527). ชีววิทยาบางประการของหนูพุกใหญ่. วารสารวิชาการเกษตร, 2, 135-145.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2553). โครงการศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทาน และ โลจิสติกส์ของสินค้าเกษตรภายใต้โครงการการศึกษาวิจัยตลอดจนติดตามประเมินผลเพื่อเสนอแนวทางนโยบายการปรับโครงสร้างภาคการผลิต การค้า และการลงทุน (รายงานวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. (ม.ป.ป.). สัตว์เศรษฐกิจ สัตว์ที่ทำรายได้ให้คนไทยมาช้านาน. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.arda.or.th/-knowledge_detail.php?id=39#

สำนักงานแรงงานจังหวัดอุทัยธานี. (2564). รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดอุทัยธานี ประจำปี พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://drive.google.com/file/d/1DXuDnuUi2N3SUV-L6hH89ydF3oWy7m2u4/view

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2553). ศักยภาพการผลิตและการตลาดแพะเนื้อ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ปี 2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เขต 9 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). รายงานผลการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากรทั่วราชอาณาจักรไตรมาสที่ 2: เมษายน-มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก http://www.nso.go.th/ 11%20HIA.doc

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2560). การจัดการห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเกษตรกล้วยไม้ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Silapakorn University, 10(2), 1595-1610.

เสกสรร สุธรรมานนท์ และคณะ. (2556). โครงการการศึกษาระบบการจัดการโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมแพะในจังหวัดสตูล (รายงานวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

อภิชาต ศรีสะอาด. (2561). หนูนา ด้วงสาคู ปลาหมอบ่อปูน . สมุทรสาคร: นาคา อินเตอร์มีเดีย.

Porter E. Micahel. (1986). Changing Patterns of International Competition. California Management Review, 28(2), 9-40.