แรงงานในแรเงา: พลวัตการทำงานและการปรับตัวของคนทำงานบ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

บุรสิทธิ์ เหมาะใจ
บวร ทรัพย์สิงห์
กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอชีวิตและการทำงานรวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มลูกจ้างทำงานบ้านหญิงผ่านการอธิบายในฐานะการเป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานที่มักได้รับแรงกระแทกเป็นกลุ่มแรกในการเกิดวิกฤตการณ์ต่าง ๆ งานศึกษาชิ้นนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบศึกษาเชิงลึก จำนวน 8 ราย ประกอบไปด้วยการทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาและการทำงานของกลุ่มลูกจ้างทำงานบ้าน ซึ่งเป็นหนึ่งในอาชีพของกลุ่มแรงงานนอกระบบและเป็นกลุ่มแรงงานกลุ่มใหญ่ที่พบได้จากการทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ผลการศึกษาพบว่า ลูกจ้างทำงานบ้านหญิงในพื้นที่กรุงเทพมหานครประสบกับปัญหาในการทำงานตั้งแต่ก่อนช่วงการระบาดของโควิด-19 ในหลากหลายประเด็นของการทำงาน อาทิ การจ้างงาน รายได้ขั้นต่ำ โดยมีรูปแบบการจ้างงานที่ส่งผลกระทบต่อรายได้และสวัสดิการที่ไม่เป็นธรรม รวมถึงมีการปรับตัวระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดโดยการหาอาชีพเสริมเพื่อชดเชยรายได้ที่ลดลงในห้วงเวลาดังกล่าว จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าแรงงานลูกจ้างทำงานบ้านยังคงไม่ได้รับสิทธิตามหลักการสากลที่ควรจะเป็นในหลายด้าน ทำให้เกิดปัญหาสะสมมาจนถึงช่วงการระบาดของสถานการณ์โควิด-19 ภาพสะท้อนที่เกิดขึ้นจึงเป็นหมุดหมายสำคัญที่จะทำให้ภาครัฐหรือหน่วยงานที่มีความรับผิดชอบเล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มอาชีพดังกล่าว เพื่อนำไปปรับปรุงกฎหมายให้มีประสิทธิภาพครอบคลุมต่อความต้องการของแรงงานได้อย่างเท่าเทียมเป็นธรรม

Article Details

How to Cite
เหมาะใจ บ., ทรัพย์สิงห์ บ., & จงสุขไกล ก. (2023). แรงงานในแรเงา: พลวัตการทำงานและการปรับตัวของคนทำงานบ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(2), 195–208. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.29
บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์. (2562). 20 ปีของงานที่มีคุณค่าและการอภิบาลแรงงานในห่วงโซ่อุปทานโลก. วารสารวิชาการของสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์,14(2),124-146.

ตุลาพร ศรียาบ. (2556). อนุสัญญาองค์กรแรงงาน ฉบับที่ 189 ว่าด้วยแรงงานทำงานบ้าน: กรณีศึกษาการนำหลักการมาเพื่อปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองแรงานของไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณฑลี กปิลกาญจน์ และ วันใหม่ นนท์ฐิติพงศ์. (2564). แรงงานนอกระบบ: ผลกระทบและความท้าทายในยุค COVID-19. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2565, จาก shorturl.at/oyAX7

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). โครงการศึกษาวิจัยเรื่องระบบคุ้มครองและสร้างความมั่นคงสำหรับแรงงานนอกระบบ (รายงานวิจัย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สถิติจำนวนแรงงานนอกระบบประจำปี 2563. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564, จาก https://bit.ly/3AaN0g3

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ. (2564). “ไอแอลโอ” เผยโควิดกระทบแรงงานหญิงมากกว่าชาย. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก https://siamrath.co.th/n/263787

WIEGO. (2564). แรงงานนอกระบบในเขตเมืองของไทย: ข้อมูลสรุปทางสถิติ. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2565, จาก https://www.homenetthailand.org/archives/2405