การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต

Main Article Content

นภชนก ตลับเงิน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต 2) เพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต นักวิชาการด้านการท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยว รวมจำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ เรื่องราว อรรถรส และลีลา ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ตมีรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3 รูปแบบ คือ การเยี่ยมชม การทดลองปฏิบัติ และการเรียนรู้ แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต ประกอบด้วย 7 ด้าน คือ การถ่ายทอดความรู้ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ กิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ พื้นที่สร้างสรรค์ กิจกรรมการท่องเที่ยวตามกลุ่มเป้าหมาย ช่องทางการรับจอง และสินค้าของที่ระลึกชุมชน

Article Details

How to Cite
ตลับเงิน น. (2023). การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(2), 136–148. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.25
บท
บทความวิจัย

References

กชธมน วงศ์คำ และคณะ. (2563). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนบ้านดอนบม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (รายงานิวัจย).มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). คู่มือบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). Traveler of Tomorrow Elite Travel Trends. TAT REVIEW, 7(2), 26-35.

เจมณี ทะริยะ. (2563). รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่เหมาะสมสำหรับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ณัฐวุฒิ ปัญญา. (2564). การสร้างสรรค์การตลาดดิจิทัลเชิงกลยุทธ์ : หลักฐานเชิงประจักษ์จากธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทย. Burapha Journal of Business Management, Burapha University, 10(1), 20-44.

ทรงสิริ วิชิรานนท์ และคณะ. (2562). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เทคโนโลยีเสมือนจริงส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนคูบัว. งานประชุมวิชาการระดับชาติด้านการท่องเที่ยวกับมนุษยศาสตร์ ครั้งที่ 1 วันที่ 19-20 ธันวาคม.

นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร และคณะ. (2561). การพัฒนาศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษากลุ่มชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

บุณยสฤษฏ์ อเนกสุข. (2559). ยล เยี่ยม เยือน เหย้า : แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ผู้จัดการออนไลน์ (23 กรกฎาคม 2564). ยกระดับ 8 ชุมชน ต้นแบบท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์รับนักท่องเที่ยวคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564, จาก https://mgronline.com/travel/detail/ 9640000072292

ฟองจันทร์ หลวงจันทร์ดวง. (2561). ตัวชี้วัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ลัดดาวรรณ ทองใบ. (2561). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กับกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 8(2),103-112.

ศิรินทร์ สังข์ทอง และอารีย์ฏา ถิรสัตยาพิทักษ์ (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา ย่านเมืองเก่าภูเก็ต.วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 15(1), 1-21.

ศุภรัตน์ แสงฉัตรแก้ว. (2562). การศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกลุ่มเป้าหมาย ภายใต้โครงการ The LINK (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศิลปากร:นครปฐม.

สโรชา อมรพงษ์มงคล. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในมิติความจริงแท้ และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษา: เมืองมัลลิกา ร.ศ.124 จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุธาสินี วิยาภรณ์, ตุลา ไชยาศิรินทร์โรจน์ และรุจิภา สินสมบูรณ์ทอง (2564). แนวทางพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ย่านเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 7(1), 177-185.

สุวิมล สาแหรกทอง และคณะ. (2560). กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนมอญบางกระดี่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: 443-450.

หัสนัย ผัดวงศ์. (2561). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอัตลักษณ์ทางกลุ่มชาติพันธุ์ม้งผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาหมู่บ้านม้งกิ่งกาญจน์ ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2561). คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: บุ๊คพลัส พับลิชชิ่ง.

อธิป จันทร์สุริย์. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 12(1), 371-395.

Richards, G. (2009). Creative tourism and local development. In R. Wurzburger, A. Pattakos & S. Pratt (Eds.). Creative tourism: A global conversation (pp. 78-90). Santa Fe: Sunstone Press.

Richards, G. (2010). Creative tourism and cultural events. Paper presented at the 2nd Forum on UNESCO Creative Cities Network Icheon, Republic of Korea, 21 October 2010.