แนวทางการเตรียมความพร้อมหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อให้บริการผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นุสรี ศิริพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการเตรียมความพร้อมหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อให้บริการผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร 2)ประเมินการเตรียมความพร้อมหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อให้บริการผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร และ3)เสนอแนะแนวทางการเตรียมความพร้อมหน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อให้บริการผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการสำรวจความคิดเห็นการเตรียมความพร้อมของหน่วยปฐมของปฐมภูมิในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 194 แห่ง และความคิดเห็นของผู้สูงอายุ 400 คน การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการอุปมานและการตีความ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การเตรียมความพร้อมหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อให้บริการผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร
โดยการสร้างความครอบคลุมของหลักประกันสุขภาพ ผ่านกลไกการมีส่วนร่วม การสร้างความรอบรู้ ความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ควบคู่กับการจัดระบบบริการที่เข้าถึงได้สะดวกและทั่วถึง มุ่งสู่ความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพ
2. การประเมินการเตรียมความพร้อมหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อให้บริการผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร โดยส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการเพิ่มพูนและฟื้นฟูศักยภาพทักษะอย่างสม่ำเสมอในการดูแลผู้สูงอายุ จากการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพ และทำงานร่วมกับชุมชน หน่วยบริการปฐมภูมิขององค์การทำงานในรูปแบบเครือข่าย พร้อมทั้งมีมีระบบติดตามผลตรวจสอบคุณภาพการปฏิบัติงานของหน่วยบริการปฐมภูมิ
3. เสนอแนะแนวทางการเตรียมความพร้อมหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อให้บริการผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร โดยต้องการบริหารจัดการที่เน้นประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่า ด้านสาธารณสุข ในการสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในสังคมผู้สูงอายุต่อไป

Article Details

How to Cite
ศิริพัฒน์ น. (2023). แนวทางการเตรียมความพร้อมหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อให้บริการผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 158–171. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.11
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือดูแลสังคมจิตใจบุคลากรสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กัลยา สว่างคง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานและจากองค์กรที่มีผลต่อความตั้งใจในการลาออกจากงานผ่านความผกูพันด้านความรู้สึกต่อองค์กร ของพนักงานบริษัทนําเที่ยวในกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช, 14(1), 91-103.

ชลธิชา ชุมอินทร์และคณะ. (2564). กลไกการให้บริการในวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษา: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองมวน ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น,7(5), 21-34.

ธนวัฒน์ วิเศษสมบัติ และ ฐิติมา ไชยะกุล. (2561). ผลกระทบของแรงจูงใจ ความพึงพอใจ และความผูกพันต่อองค์กร ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมยานยนต์ ของเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด 1 จังหวัดระยอง.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 14-26.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ,13(25), 103-118.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีต่อการบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ 13 (กรุงเทพมหานคร). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 486-498.

พิชญา แก้วสระแสน และไพบูลย์ อาชารุ่งโรจน์ (2560). ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยในการทำงาน ความเครียด และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(2), 1042-1057.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2562). อิทธิพลทางสังคมที่มีผลต่อนโยบายการเตรียมชุมชนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(1), 432-445.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีต่อการบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ 13 กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 486-498.

มารดี ศิริพัฒน์ (2561) ศึกษาวิจัยเรื่องนโยบายการเตรียมชุมชนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารคุรุศาสตร์, 15(ฉบับพิเศษ), 488-506.

วรชัย สิงหฤกษ์ และวิโรจน์ เจษฏาลักษณ์.(2560). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงาน ผ่านความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), 203-210.

สุพิชฌาย์ ลิ้มตระกูลไทย. (2561). คุณลักษณะงานที่มีผลต่อความผูกพันด้านความรู้สึกต่อองค์กรผ่านผลการปฏิบัติงาน ในบทบาทการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างาน และการรับรู้การสนับสนุน จากองค์กรของโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สัญชัย ห่วงกิจ. (2561). ศึกษาวิจัยเรื่องการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในพื้นที่ เขต13 กรุงเทพมหานคร. วารสารคุรุศาสตร์, 15(ฉบับพิเศษ), 214-232.

อุทัย เลาหวิเชียร. (2551). รัฐประศาสนศาสตร์: ลักษณะวิชาและมิติต่าง ๆ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

อัมพร จันทวิบูลย์. (2563). สภาพแวดล้อมและการดำเนินงานของชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานครในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย.

Jackson, S.E., Schuler, R.S., & Werner, S. (2009). Managing human resources. Mason, OH: South-Western Cengage Learning.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970).Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.