ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

เกรียงศักดิ์ แสงสว่าง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี 2)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี และ3)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน โดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าเอฟ และการวิเคราะห์ผลทางสถิติแบบ Multiple Hierarchy Regression Analysis ในการทดสอบสมมติฐานเพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามในการศึกษาครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาการเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากร พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
2. ผลการศึกษาภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พบว่าภาวะผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง (r = .913) วัฒนธรรมองค์การ ด้านวัฒนธรรมส่วนร่วม (r = .833**) มีความสัมพันธ์ต่อแรงจูงในการปฏิบัติงาน
3. ผลการศึกษาภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พบว่าตัวแปรที่เป็นปัจจัยทำนาย ได้แก่ ภาวะผู้นำ R2= 0.840, R2Adjusted=0.83, Sr2=3.34, F=23.52, p<0.001 และวัฒนธรรมองค์การ (R2= 0.807, R2adjusted= 0.651, F=465.3, p< 0.001) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
แสงสว่าง เ. (2023). ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 113–127. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.8
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ เต็มโศภินกุล. (2560). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(1), 64-73.

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.

กิตต์ระวี เลขากุล. (2561). ธรรมาภิบาลวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของเทศบาลในเขตภาคใต้ของประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

โกวิทย์ พวงงาม. (2558). ประชาธิปไตยทางการคลังไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุลชัยรุ่งเรือง. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 76-91.

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์. (2561). กลยุทธ์การจัดการความสุขในการท างานขององค์การ: ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลลัพธ์. Veridian E-Journal,Silpakorn University} 11(2), 543-566.

ธนวัฒน์ วิเศษสมบัติ และ ฐิติมา ไชยะกุล. (2561). ผลกระทบของแรงจูงใจ ความพึงพอใจ และความผูกพันต่อองค์กร ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการใอุตสาหกรรมยานยนต์ ของเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด 1 จังหวัดระยอง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 14-26.

ธนิศร ยืนยง. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครนายก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 119-135.

นฤมล เพ็ญสิริวรรณ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์} 6(10), 2641-5658.

ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์. (2561). ทิศทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในอนาคต. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 3(2),183-196.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). ประสิทธิผลการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 8(2), 15-31.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). ประสิทธิผลการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 8(2), 15-31.

พิชญา แก้วสระแสน และไพบูลย์ อาชารุ่งโรจน์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการทำงานความเครียด และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 1042-1057.

พีรพงศ์ กนกเลิศวงศ์ และธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 5(1), 109-121.

วรชัย สิงหฤกษ์ และวิโรจน์ เจษฏาลักษณ์.(2560). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงาน ผ่านความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 203-210.

วลินเนศวร์ ธีรการุณวงค์. (2562). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ฉาซัน พริ้นติ้ง.

ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ และคณะ. (2557). การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นตาม กระบวนทัศน์แห่งการบริหารกิจการสาธารณะแนวใหม่. ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อภิษฎาข์ ศรีเครือดง และคณะ. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความโปร่งใส ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในทศวรรษหน้า. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(1),341-356.