ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จการดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของผู้ประกอบการในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ธนะพัฒน์ วิริต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันในการดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จการดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 และ 3) ศึกษาความสำเร็จการดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการอุปมานวิเคราะห์และการตีความ การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1)สภาพการณ์ปัจจุบันจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม และปัจจัยด้านเทคโนโลยี เป็นบทสะท้อนการจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการในปัจจุบัน 2)ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จการดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 พบว่าคุณลักษณะของผู้ประกอบการในเรื่องความคิดเชิงนวัตกรรม(β= 0.174) ส่วนประสมทางการตลาด(7Ps) ในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย(β= 5.132) และกลยุทธ์ธุรกิจของผู้ประกอบการในเรื่องกลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (β= 0.412) ส่งผลต่อความสำเร็จมากที่สุด โดยมีสมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 68% และ3)ความสำเร็จการดำเนินธุรกิจ โดยผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ อย่างละเอียดรอบคอบในการตัดสินใจในการบริหารเพื่อจะให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อไป

Article Details

How to Cite
วิริต ธ. (2023). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จการดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของผู้ประกอบการในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 128–142. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.9
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรัณย์พัฒน์ อิ่มประเสริฐ. (2564). การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมทางการตลาดเพื่อการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางในจังหวัดนนทบุรี.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 11(2), 244-254.

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.

กมลพร กัลยาณมิตร (2564). วิจัยเรื่องการนำกลยุทธ์การบริหารสู่การปฏิบัติ ในรูปแบบความปกติใหม่ (New Normal). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 402 - 422.

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์. (2561). กลยุทธ์การจัดการความสุขในการทำงานขององค์การ: ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญเรือน ทองทิพย์. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กับศักยภาพของผู้นำ ต่อการพัฒนาองค์การแบบ New Normal. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 434-446

พีระพงษ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564).โมเดลความสัมพันธเชิงสาเหตุปจจัยที่มีอิทธิพลตอการเตรียมชุมชนเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายผูสูงอายุในหนวยปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแหงชาติ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(2), 322-335.

ลักขณา อินทร์บึง, ภูวนิดา คุนผลิน และพจ ตู้พจ. (2564). การจัดการสู่ความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 234-251.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์.(2562). สถิติสำหรับวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS.กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่งคง.

ศิตชัย จิระธัญญาสกุล. (2564). แนวทางการดำเนินธุรกิจก่อสร้างขนาดกลาง และความสัมพันธ์ระหว่างผลการดําเนินงานธุรกิจก่อสร้างด้วยวิธีบาลานซ์สกอ์การ์ดกับความคาดหวังของธุรกิจก่อสร้าง. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(1), 164-175.

สรัญช์รัศมิ์ แก้วจุนันท์และจักรพงษ์ พงษ์เพ็ง. (2564). ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินความยั่งยืนของการก่อสร้างอาคารของผู้รับเหมาที่ส่งผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน. Ladkrabang Engineering Journal, 37(4), 26-35.

สิทธิ์ศิริ ฐานประเสริฐ. (2561). ปัญหาที่ส่งผลกระทบทางด้านการเงินต่อการขยายธุรกิจรับเหมาก่อสร้างประเภทอาคารของผู้รับเหมาก่อสร้างในจังหวัดนครปฐม.วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 2(1), 47-58.

สาวิทย์ หลาบมาลา. (2564). ประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงในการก่อสร้างอาคารสูงจังหวัดชลบุรี.วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 455-471.

สรสินธุ์ ฉายสินสอน. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านคุณลักษณะผ้ปูระกอบการและการรับรู้เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยีคลังสินค้าอัจฉริยะเชิงพาณิชย์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย.วารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(1), 21-36.

อุษณีย์ เส็งพานิช. (2564).ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อข้อจำกัดในการดำเนินงานและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดพิษณุโลก.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(1), 13-26.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2009). Marketing, an Introduction. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Mhalla, M. (2020). The Impact of Novel Corona virus (Covid-19) on the Global Oil and Aviation Markets. Journal of Asian Scientific Research, 10(2), 96-104.