การพัฒนากลยุทธ์การตลาดสำหรับวิสาหกิจชุมชนในกลุ่มประเภทอาหารแปรรูป จากสับปะรด ในเขตภาคกลางตอนล่าง กลุ่ม 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สภาพการณ์ปัจจุบันและกลยุทธ์การตลาดสำหรับวิสาหกิจชุมชนในการระบุโอกาสของการกำหนดกลยุทธ์การตลาดในกลุ่มประเภทอาหารแปรรูปจากสับปะรดในเขตภาคกลางตอนล่าง กลุ่ม2 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กลุ่มผู้บริหาร เจ้าของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน จำนวน 20 คน ในจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างหรือการสัมภาษณ์แบบชี้นำ และการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์แบบมีแก่นสาระ
ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนากลยุทธ์การตลาดสำหรับวิสาหกิจชุมชนในกลุ่มประเภทอาหารแปรรูปจากสับปะรด ในเขตภาคกลางตอนล่าง กลุ่ม 2 จุดแข็ง พบว่า มีการรวมกลุ่ม มีโครงสร้างองค์การด้านผู้ประกอบการ และบุคลากร มีการประชุมในการขับเคลื่อนกระบวนการทางธุรกิจ มีการจัดการบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบเครือญาติ มีวัฒนธรรมองค์การ เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของชุมชน สามารถนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีแนวคิดที่ทำให้เกิดคุณค่าร่วมกัน และนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารกลุ่ม จุดอ่อน พบว่า ด้านราคา ขาดวิสัยทัศน์ แผนธุรกิจ และกระบวนการจัดการธุรกิจ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ขาดการจัดการความรู้ ขาดทักษะเชิงนวัตกรรม ขายสินค้าได้น้อย โอกาส พบว่าด้านนโยบาย การสนับสนุนด้านวิชาการ งบประมาณของกองทุนต่าง ๆ ระบบสารสนเทศ แหล่งท่องเที่ยว แหล่งผลิตสับปะรด แผนแม่บท แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด แผนยุทธศาสตร์สับปะรดของประเทศ ซึ่งนำมาสู่กลยุทธ์การตลาดสำหรับวิสาหกิจชุมชนในกลุ่มประเภทอาหารแปรรูปจากสับปะรดในเขตภาคกลางตอนล่าง กลุ่ม 2 ประกอบด้วย กลยุทธ์ทางการตลาด 7 Ps
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษติญา มูลศรี. (2019). กรอบแนวคิดแมคคินซีย์ 7s และการจัดการคุณภาพโดยรวม ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ธุรกิจ. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(1), 40-53.
กศิพัฎญ์ ทองแกม และโฆสิต แพงสร้อย.(2562).ปัญหาและแนวทางส่งเสริมการขายสินค้าโอทอปบนตลาดออนไลน์เชิงพุทธในจังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4628-4644.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2561).สำนักงาน “ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20ปี พ.ศ. 2561-2580. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565, จาก http://www.hesdc.go.th
จักรพงษ์ นวลชื่น. (2561). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้ยั่งยืนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นศึกษา กรณีวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร (รายงานการวิจัย). วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทรงศักดิ์ ศรีวงษา. (2550). การบริหารเชิงกลยุทธ์ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2557). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,10(1), 98-99.
ธนวุฒิ พิมพ์กิ และจันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์. (2557). การประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงกับวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 10(1), 1-21.
นุชนาถ ทับครุฑ, ศุกพิชญาณ์ บุญเกื้อ และอรอนงค์ อำภา. (2563). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดตรังเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
ปวันรัตน์ ดีวงษ์ และกฤช จรินโท. (2560). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่ มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ จังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วนัสรา จันทร์กมล. (2563). เงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินงานวิสาหกิจเพื่อสังคมของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรรณพรรณ รักษ์ชน และวิชิต อู่อ้น. (2562). ตัวแบบกลยุทธ์การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ สำหรับวิสาหกิจชุมชนภาค การให้บริการในเขตภาคเหนือประเทศไทย. สักทองวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(2), 120-130.
วรวิทย์ ประสิทธิ์ผล และคณะ.(2563).การพัฒนาศักยภาพการประกอบการธุรกิจชุมชน กรณีธุรกิจชุมชนหมู่บ้านเลิศอุบล เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(32),125-140.
ศิรินทร เลียงจินดาภาวร และเขมิกา แสนโสม. (2560). รูปแบบการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน บนพื้นฐานทรัพยากร (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศิริวารินทร์ วานมนตรีและ อมรวรรณ รังกูล. (2565). แนวทางการแก้ไขปัญหาจากการนำแนวคิดการตั้งวัตถุประสงค์และผลลัพธ์มาใช้ในการบริหารองค์กร: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. Journal of Modern Learning Development, 7(1), 255-266.
สกุล วงษ์กาฬสินธุ์. (2563). การจัดการธุรกิจชุมชนต้นแบบในจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: เลิศศิลป์ สาส์ณ โฮลดิ้ง.
Abraham, S.C. (2006). Strategic Planning a Practical Guide for Competitive Success. Ohio: Thomson South-Western.
Allan, L. (1973). Successful Sport Management. United Sates: Michie.
Armstrong, G., Adam, S., Denize, S. & Kotler, P. (2012). Principles of Marketing. (5th ed.). Sydney: Pearson Education.
Coulter, M. (2005). Strategic Management in Action. New Jersey: Pearson.
David, F.R. (2012). Strategic Management: Concepts and Cases. Charles W.L. Hill: Prentice Hall.
Fayol, H. (1916). General and Industrial Management. New York: Pittnans Publishing Corporation.
Griffin, J.M. (2002). Are the Frma and French factors global or country-specific?. Review of Financial Studies, 15(3), 783-803.
Gulick, L. and Urwick, L. (1973). Paper on the Science of Administration. Clifton: Augustus M. Kelley.
Pearce, J.A & Robinson, R.B. (2000). Strategic management. NJ: McGraw-Hill.
Robbin, S.P. and Coulter, M. (2005). Management. 8th ed. New Jersey: Prentice Hall.
Robbins, S.P. and Coulter, M. (2007). Organization Theory: Structure, Design, and Applications. New Jersey: Prentice-Hall.
Robbins, S.P. and DeCenzo, D.A. (2005). Fundamentals of Management Essential Concepts and Applications. 5th Edition. New Jersey: Pearson Education, Inc.
Rue, L.W. and Byars, L.L. (2002). Human resource management. Irwin: McGraw Hill.
Schermcrhorn, J.R. (1999). Information Sharing as an Inter oganizational Activity. Academy of ManagementJournal, 21, 148-153.
Wright , P.M and Other. (1992). Management of Organizations. Chicago: Irwin.