การนำนโยบายโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตไปปฏิบัติในพื้นที่ภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากปรากฎการณ์การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุทั้งในระดับโลกและประเทศไทย นโยบายรัฐเป็นสิ่งสำคัญต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ “โรงเรียนผู้สูงอายุ” เป็นนโยบายหนึ่งของหน่วยงานรัฐ หลายแห่งของไทยกำลังนำไปสู่การปฏิบัติ นับเป็นประเด็นสำคัญที่นำไปสู่การกำหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาการนำนโยบายโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตไปปฏิบัติในพื้นที่ภาคใต้ ตลอดจนปัจจัยความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคของการนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมทั้งจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายร่วมด้วย ใช้การเก็บข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
และตรวจสอบความถูกต้องด้วยการวิเคราะห์แบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทยเริ่มอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ พ.ศ.2525 ผ่านกิจกรรม การจัดทำแผนระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ ปฏิญญาผู้สูงอายุ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ และมีการพัฒนานโยบายรัฐเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน 2) โรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่ภาคใต้ มีการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงานของกรมกิจการผู้สูงอายุ 5 ด้านคือ กลุ่ม กรรมการ กติกา กิจกรรม และกองทุน แต่มีความแตกต่างตามบริบทพื้นที่ ส่วนปัจจัยความสำเร็จของโรงเรียนผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) มีผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) มีเป้าหมายที่ชัดเจน
3) กระบวนการมีส่วนร่วม 4) มีภาคีเครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็ง และ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาดูงาน ในขณะที่พบปัญหาสำคัญคือ 1) การไม่เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ 2) งบประมาณน้อยและไม่เพียงพอ และ 3) ขาดแคลนผู้ดำเนินงานในรุ่นต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการปกครอง. (30 สิงหาคม 2565). จำนวนประชากรแยกรายอายุ. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByAge.php
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). มติสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ ปี 2564 สังคมสูงวัยคนไทยอายุยืน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้ตติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2553). มาตรการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
กอปรกมล ศรีภิรมย์ และปาลีรัตน์ วงศ์ฤทธิ์. (2561). นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในกลุ่มประเทศอาเซียนต่อผลลัพธ์การดูแลผู้สูงอายุในเขตเมือง. วารสารเอเชียพิจาร, 5(9), 107-143.
โกสินล์ ชี้ทางดี.(2562).แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(2), 325.
ขวัญสุดา เชิดชูงาม.(2563).ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในสังกัดของกรุงเทพมหานครและสถาบันการศึกษา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 14(3), 357-373.
ชัชฎา กำลังแพทย์, (14 กันยายน 2560). เรียนรู้นโยบายเพื่อผู้สูงวัยของสิงคโปร์. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/117430
พระชาญณรงค์ อตฺตทนฺโต (เสาร์รัตน์ไพร). (2564). โรงเรียนผู้สูงอายุ: รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุเชิงพุทธของโรงเรียนผู้สูงอายุ ในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่”. วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มิ่งขวัญ คงเจริญ และ กัมปนาท บริบูรณ์. (2562). โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบพึ่งตนเอง: การเป็นกิจการเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1-73.
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์ และคณะ. (2563). โรงเรียนผู้สูงอายุ: นวัตกรรมสังคมเพื่อคนสูงวัย. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). การเตรียมการเพื่อรองรับสังคม ผู้สูงอายุของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์ โอชา. สลค.สาร, 26(2), 37-44.
David, E. (1953). The Political System An Inquiry in to the State of Political Science. New York: Alfred A. Knorf.