การเปรียบเทียบการนิเทศภายในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่

Main Article Content

อุษา งามมีศรี
ละมุล รอดขวัญ
ประกัน เมืองสุด
วรรณรี ปานศิริ
จำรัส แจ่มจันทร์
อมรรัตน์ พันธ์งาม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการนิเทศภายในโรงเรียนขยายโอกาสตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ตามตัวแปร เพศ ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการทำงาน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดการนิเทศภายในของโรงเรียนของ Glickman เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 254 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้ขนาดโรงเรียนในการแบ่งชั้น จากนั้นการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติอ้างอิง ได้แก่ ค่าเอฟ


ผลการวิจัย พบว่า ระดับทัศนะของครูเกี่ยวกับการนิเทศภายในของโรงเรียนขยายโอกาส
โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และการนิเทศภายในโรงเรียนขยายโอกาสตามทัศนะของครูตามตัวแปรเพศ ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมและในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน มีเพียงด้านการวิจัยในชั้นเรียนที่ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 5 ปี กับครูที่มีประสบการณ์การทำงาน 5-10 ปี มีทัศนะต่อการนิเทศภายในแตกต่างกัน โดยครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 5 ปี มีทัศนะต่อการนิเทศภายในโรงเรียนขยายโอกาสมากกว่า


องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ คือ การพัฒนาทางวิชาชีพครูแต่ละคนต้องมีโอกาสในการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อการสนับสนุนการประกอบวิชาชีพของตนและการทำให้บรรลุเป้าหมายของวิชาชีพ และครูในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนต้องทำความเข้าใจ เรียนรู้ใช้ทักษะความรู้และโปรแกรมการพัฒนาร่วมกันที่จะให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียน และการพัฒนาทางวิชาชีพ

Article Details

How to Cite
งามมีศรี อ., รอดขวัญ ล., เมืองสุด ป., ปานศิริ ว., แจ่มจันทร์ จ., & พันธ์งาม อ. (2022). การเปรียบเทียบการนิเทศภายในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(3), 1–17. https://doi.org/10.14456/jappm.2022.16
บท
บทความวิจัย

References

กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน. (2561). รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(2),17-30.

กิติมา ปรีดีดิลก. (2553). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2547). การนิเทศการสอนแผนใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โฟร์เพช.

บูซิตา จันทร์สิงค์โท และสุบัน มุขธระโกษา. (2560). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4 วันที่ 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ปนัดดาศิริพัฒนกุล. (2558). การศึกษาบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยองจันทบุรีและตราด (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

พัชรินทร์ ช่วยศิริ. (2554). การศึกษาการดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เมธินี สะไร. (2560). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหพัฒนา อำเภอรือเสาะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

รุ่งรัชดาพร เวหะชาติ. (2551). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

สงัด อุทรานันท์. (2550). การนิเทศการศึกษา: หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.

สำเร็จ ยุรชัย และคณะ (2560). แนวทางการนิเทศภายในแบบส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย,7 (ฉบับพิเศษ), 514-522.

สุภัจฉรา กาใจ. (2562). แนวทางการบริหารปัจจัยที่ส่งผลต่องานนิเทศภายในของโรงเรียนนาโบสถ์พิทยาคม อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อภิสรา กังสังข์. (2561). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ฮาซานะห์ บินมะอุง และคณะ (2561). การศึกษาชุดฝึกปฏิบัติการและการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการสอนอ่านเชิงวิพากษ์ของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 (รายงานวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแลกเป้า สพฐ. ปีงบประมาณ 2561.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika,16, 297-334.

Glickman, Carl D. (1990). Supervision of Instruction. New York: Allyn and Bacon.

Krejcie, Robert V., & Daryle, W. Morgan. (1970). Determining Sampling Size for Research Activities. Journal of Education and Psychological Measurement, 10(11), 308.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Malone T.W. and Crowston K. (1994). The Interdisciplinary Study of Coordination. ACM Computing Surveys, 26(1), 87-119.

Rawls, J. A, (1973). Theory of Justice. London: Oxford University Press.