ทิศทางการตลาดของอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องเพื่อการส่งออกของไทย

Main Article Content

สุทัตตา ตันเจริญ
กาญจนา พันธุ์เอี่ยม
ชัชวาล แสงทองล้วน
อธิธัช สิรวริศรา

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการนำเสนอสภาพปัญหาปัจจุบัน แนวทางการพัฒนาการจัดการตลาด
และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของจัดการตลาดของอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องเพื่อการส่งออกของประเทศไทย


ทิศทางการตลาดของอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องเพื่อการส่งออกของประเทศไทยจะสามารถสร้างความยั่งยืนอุตสาหกรรมสับปะรดไทยตามวิสัยทัศน์ในยุทธศาสตร์สับปะรด ปี 2560-2569 จำเป็นต้องศึกษาสภาพปัญหา แนวทางการพัฒนาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ซึ่งจากการศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบัน พบปัญหาด้านกฎหมาย ระเบียบ นโยบายทั้งต่างประเทศและในประเทศด้านผู้ประกอบการ ด้านการตลาดแบบบูรณาการ 


สำหรับแนวทางการพัฒนาการจัดการตลาดของอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องเพื่อการส่งออกของประเทศไทย ประกอบด้วย การวางแผน กำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ทางธุรกิจ ด้านการผลิต ด้านการแปรรูป ด้านการตลาด และด้านการบริหารจัดการ โดยกลยุทธ์ทางธุรกิจต้องมีการวางแผนการผลิต
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างอำนาจการต่อรองและการแข่งขัน การสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างประเทศคู่ค้า การครองใจลูกค้า ด้านกระบวนการเน้นการสื่อสาร การพัฒนาและสร้างการมีส่วนร่วม  การตลาดดิจิทัล การพัฒนาผู้ประกอบการ การวิจัยและพัฒนา และการประเมินผลอย่างครบวงจร


ข้อเสนอแนะทิศทางในการพัฒนาเชิงนโยบายอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องเพื่อการส่งออกของประเทศไทย ประกอบด้วย การนำเสนอต่อภาครัฐ กลุ่มจังหวัด กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยให้มีการสนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การอำนวยความสะดวกในขั้นตอนการส่งออก การส่งเสริมการตลาดแบบบูรณาการ การจัดทำข้อมูลสารสนเทศอุตสาหกรรมสับปะรดทั้งระบบ ระบบการขนส่งตลอดห่วงโซ่อุปทาน กำหนดแผนยุทธศาสตร์เพื่อการส่งออกของกลุ่มจังหวัด และการเจรจาการค้าเพื่อขยายตลาดต่างประเทศ

Article Details

How to Cite
ตันเจริญ ส., พันธุ์เอี่ยม ก. ., แสงทองล้วน ช., & สิรวริศรา อ. (2022). ทิศทางการตลาดของอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องเพื่อการส่งออกของไทย. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(3), 183–194. https://doi.org/10.14456/jappm.2022.28
บท
บทความวิชาการ

References

กลุ่มสารสนเทศการเกษตร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดราชบุรี. (2564). ข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาการเกษตรรายสินค้าของจังหวัดราชบุรี. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.opsmoac.go.th/ratchaburi-dwl-files-431591791177

ชาญยุทธ กาฬกาญจน์. (2561). การพัฒนากลไกและกระบวนการเพื่อสนับสนุนการวางแผนจัดทำงบประมาณด้านทรัพยากรน้ำและเกษตรโดยใช้ระบบสารสนเทศในการเชื่อมโยงข้อมูลและสนับสนุนจังหวัดระยอง “สับปะรดและผลิตภัณฑ์ส่งออก”. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ทวีศักดิ์ แสงอุดม. (2560). การจัดการการผลิตสับปะรดคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพืชสวนกรมวิชาการเกษตร.

ประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา. (2561). ยุทธศาสตร์สับปะรดปี 2560-2569. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

วรวุฒิ สมหวังประเสริฐ. (2550). การพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสับปะรดไทยสู่ตลาดโลก. ผลงานวิชาการ (ว.) กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์.

ศิริลักษณ์ ศรีมณี และกนกพร ชัยประสิทธิ์. (2561). ความสัมพันธ์ของปัจจัยภายในและภายนอกที่มีต่อการส่งออกสับปะรดกระป๋องไปยังสหรัฐอเมริกา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 8(2), 323.

สถาบันอาหาร.(2564). ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564, จากhttp://fic.nfi.or.th/foodsectordatabankall2_detail.php?cat=12&type=2

สินีนาฏ แสงจันทร์. (2560). การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ประกอบการส่งออกสับปะรดกระป๋องไทย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2565.กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

Gartner Glossary. (2021). Integrated Marketing Management. Retrieved June 1, 2022, from https:// www.gartner.com/en/information-technology/glossary/integrated-marketing-management

The International Trade Centre (ITC). (2021).Inputs into the 2021 High-Level Political. Retrieved June 2, 2022, from https://intracen.org/

Schultz, D.E. (1993). Integrated Marketing Communication: Maybe Definition is in the Point of View. Marketing News, (18),313-348.