แนวทางการจัดการโรงแรมระดับ 5 ดาว เพื่อตอบสนองต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวชาวจีน ในเขตเมืองพัทยา

Main Article Content

ณัฐชานันท์ นุ่นมีสี
เทิดชาย ช่วยบำรุง

บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้หลักของประเทศไทย โดยในระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางเข้ามาในเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ชาวจีนจึงกลายเป็นตลาดสำคัญสำหรับการท่องเที่ยวของไทยและยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งพัทยาเป็นอีกหนึ่งจังหวัดสำคัญที่นักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวชาวจีนนิยมเดินทางมาท่องเที่ยว ปัจจุบันจึงมีการขยายตัวของธุรกิจโรงแรมเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวชาวจีนเพิ่มสูงขึ้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำโรงแรมระดับ 5 ดาว สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวชาวจีน ในเขตปกครองพิเศษเมืองพัทยา และ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการโรงแรมระดับ 5 ดาว เพื่อตอบสนองต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวชาวจีน ในเขตปกครองพิเศษเมืองพัทยา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่มาใช้บริการในโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตปกครองพิเศษเมืองพัทยา จำนวนตัวอย่าง 400 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.66-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.801 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความถดถอยแบบพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำโรงแรมระดับ 5 ดาว สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวชาวจีน ในเขตปกครองพิเศษเมืองพัทยา ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านสถานที่ตั้งของโรงแรม ปัจจัยด้านความปลอดภัย และปัจจัยด้านราคาของห้องพัก และ 2) แนวทางการจัดการโรงแรมระดับ 5 ดาว เพื่อตอบสนองต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวชาวจีน ในเขตปกครองพิเศษเมืองพัทยา เช่น (1) การยกระดับการให้บริการของโรงแรมในทุกแผนกเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวชาวจีน (2) พัฒนาทักษะการสื่อสารของบุคลากรที่ให้บริการนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวชาวจีน และ (3) ยกระดับความปลอดภัยของสถานที่ กิจกรรม การให้บริการในทุกรูปแบบที่มีความเกี่ยวข้องกับการให้บริการเด็ก เป็นต้น ดังนั้นผู้บริหารโรงแรมระดับ 5 ดาว จะต้องให้ความสำคัญเพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพโรงแรมให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
นุ่นมีสี ณ., & ช่วยบำรุง เ. (2022). แนวทางการจัดการโรงแรมระดับ 5 ดาว เพื่อตอบสนองต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวชาวจีน ในเขตเมืองพัทยา. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(3), 47–62. https://doi.org/10.14456/jappm.2022.19
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สรุปรายได้และค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2565 , จาก https://www.mots.go.th/ news/category/529

กฤษติญา มูลศรี, สุนทรี รอดดิษฐ์, และวิไลพร วงษ์อินทร์. (2561). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาคธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), 14-24.

ชดากร สถิตย์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวไทยในการเลือกที่พักแรมเขตอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3), 227-236.

ดาวศุกร์ บุญญะศานต์ และชงค์สุดา โตท่าโรง. (2563). นวัตกรรมการบริการกับการสร้างคุณค่าในธุรกิจโรงแรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ, 8(1), 1-14.

เทพฤทธิ์ มณีกุล. (2560). โครงการการลงทุนของจีนกับผลกระทบต่อความมั่นคงทางธุรกิจท่องเที่ยวในภาคเหนือของไทย (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นันทพร กุดหินนอก. (2557). ศึกษาคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความตั้งใจกลับมาใช้บริการโรงแรม 5 ดาวซ้ำ ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในกรุงเทพมหานคร (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปฤณพร บุญรังสี, และประสพชัย พสนุนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), 193-205.

แป้งพิมพ์ พิชิตชลพันธุ์ และวิทยากร เชียงกูล. (2560). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ กรณีศึกษานักท่องเที่ยวชาวจีน. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 3(1), 235-247.

วงศธร อรรถวิทยา, และคาล จามรมาน. (2564). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อการเลือกใช้บริการพักโรงแรม 5 ดาว ในกรุงเทพมหานครในช่วงเกิดโรคระบาด COVID-19. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1), 476-489.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, และอมรศักดิ์ บุญเรือง. (2546). การบริหารการตลาดยุครใหม่ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: Diamond in Business World.

โศภิษฐา เต็มรัตน์. (2561).คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำในโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อาทิตยาพร ประสานพาณิช. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4Ps) และประโยชน์ของตัวแทนการจัดจำหน่ายทางการท่องเที่ยวออนไลน์ (OTA) ในการส่งเสริมการตลาดของโรงแรมในจังหวัดนครพนม. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 14(1), 3-15.

Ahmed, I., Shankat, M. Z., Nawaz, M. M., Ahmed, N., & Usman, A. (2011). Determinants of the satisfaction and repurchase intentions of users of short messenger services (SMAS): A study in the telecom sector of Pakistan. International Journal of Management, 28(3), 763–772.

Bendapudi, N., & Berry, L. L. (1997). Customers' motivations for maintaining relationships with service providers. Journal of Retailing, 73(1), 15-37.

Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed.). New Jersey: Prentice hall Inc.

Brace, N., Kemp, R, & Snelgar, R. (2012). SPSS for Psychologists. (5th ed). New York: Palgrave Mcmillan.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.

El-garaihy, W.H. (2013). Developing and Validating a Hospitality Service Quality Scalein Saudi Arabia (HOSPSQ): A Structural Equation Model. International Journal of Business and Social Science, 4(14), 224-2.

Kantowitz, B. H., Hanowski, R. J., & Kantowitz, S. C. (1997). Driver Acceptance of Unreliable Traffic Information in Familiar and Unfamiliar Settings. SAGE Journals,39(2), 164-176.

Kucukusta, D. (2017). Chinese travelers’ preferences for hotel amenities. International Journal of Contemporary Hospitality Management., 29(7), 1956-1976.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50.