สมรรถนะของนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพสำนักงานบัญชี จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพสำนักงานบัญชี จังหวัดระยอง 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสมรรถนะนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลกับการพัฒนาคุณภาพสำนักงานบัญชี จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ นักบัญชีที่ปฏิบัติงานในสำนักงานบัญชี จังหวัดระยอง จำนวน 60 แห่ง 246 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า สมรรถนะของนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพของสำนักงานบัญชี จังหวัดระยอง ผลศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสมรรถนะนักวิชาชีพในยุคดิจิทัล ภาพรวมมีความคิดเห็นระดับมาก ความสำคัญอันดับแรกคือ การเข้าใจเครื่องมือดิจิทัลในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลทางบัญชี ( =4.48 S.D.=0.39) เกี่ยวกับคุณภาพของสำนักงานบัญชี ภาพรวมมีระดับความคิดเห็นมาก ความสำคัญอันดับแรกคือ ความสำคัญกับการจัดทำงบการเงินได้อย่างถูกต้องคำนวณตัวเลขไม่ผิดพลาด ( =4.60 S.D.=0.63) การศึกษาความสัมพันธ์ของสมรรถนะนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลกับการพัฒนาคุณภาพสำนักงานบัญชี พบว่า สมรรถนะของนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล 8 ด้าน ดังนี้ 1) ความสามารถในการใช้โปรแกรมบัญชีและโปรแกรมทางธุรกิจ 2) ทักษะการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจเนื้อหาบัญชี 3) ทักษะในการสื่อสารเกี่ยวกับข้อมูลการเงินและบัญชี
4) ความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ทางการทำบัญชี 5) การเข้าใจเครื่องมือดิจิทัลในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทางบัญชี 6) ความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี 7) จรรยาบรรณและทัศนคติ
8) ประสบการณ์ในการทำงาน มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพสำนักงานบัญชี 5 ด้าน ดังนี้ 1) การจัดทำงบการเงินได้อย่างถูกต้อง คำนวณตัวเลขไม่ผิดพลาด 2) การจัดทำงบการเงินได้รวดเร็ว ทันเวลากำหนดส่งงบการเงิน 3) การปฏิบัติงานมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่ได้คุ้มค่ากับทรัพยากรที่ใช้ไป 4) การปฏิบัติงานจะบรรลุเป้าหมาย 5) การปฏิบัติงานจะประสบความสำเร็จในวิชาชีพ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2565,จาก www.dbd.go.th/news_ view.php?nid=6165
จินดา จอกแก้ว. (2564). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสำนักงานบัญชี ในเขตพื้นที่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC). วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม,3(2), 82-95.
ฉัตรรัชดา วิโรจน์รัตน์. (2551). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีปฏิบัติงานบัญชีสมัยใหม่,การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีความเชี่ยวชาญทางการบัญชีอย่างมืออาชีที่มีต่อประสิทธิภาพรายงานทางการเงินของนักบัญชีในประเทศไทย.วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 11(1),17-34.
ชลมาศ เทียบคุณ. (2562). สมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของนักบัญชีในเขตภาคใต้ (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นีรชา แซ่ทึ่ง และคณะ. (2561). ความเป็นดิจิทัลของสำนักงานบัญชีไทย.การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2. (หน้า 534 - 546). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
บุญช่วง ศรีธรราษฎร์. (2560). ผลกระทบของความเป็นเลิศทางวิชาชีพบัญชีที่มีต่อความสำเร็จในวิชาชีพของนักบัญชีบริษัทในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.วารสารกาสะลองคำ,12(1), 32-43.
บุญช่วง ศรีธรราษฎร์. (2561). ผลกระทบของสมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชีบริษัทในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ.วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,5(1),58-72.
เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช และคณะ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.
ปาริชาติ มณีมัย. (2559).คุณภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีขนาดกลาง และขนาดย่อมของไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(1),117-128.
มนัสวีร์ วิญญาภาพ. (2560). ผลกระทบของมาตรฐานการปฏิบัติงานสำนักงานบัญชีคุณภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2),735-747.
รุ่งระวี มังสิงห์และชุมพล รอดแจ่ม. (2564). สมรรถนะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัลตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ,6(1), 100-118.
ลัดดา หิรัญยวา. (2560). มาตรฐานนักบัญชีที่ตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจภายใต้กรอบ,มาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน.วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(2), 63 - 73.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). เรื่องมาตรฐานการบัญชี. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2565, จาก https://www.myaccount- cloud.com /Article/Detail/92129
วริยา ปานปรุง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่มีต่อคุณลักษณะของนักบัญชีในยุคไทยแลนด์ 4.0. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่2 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018. 9 มีนาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ศิราณี เมฆลอย. (2565). การบริหารจัดการองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19ในองค์การคลังสินค้ากระทรวงพาณิชย์ .วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย,6(2),398-412.
สรัชนุช บุญวุฒิ,ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน.(2559).การศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ภายใต้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่,9(1),162-177.
หทัยรัตน์ คำฝั้นและจีราภรณ์ พงศ์พันธุ์พัฒนะ.(2560). วิสัยทัศน์ทางบัญชีที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านบัญชีของธุรกิจโรงแรมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์,11(2),135-146.
หัทยาภรณ์ สนมน้อย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพิจารณาเลือกรับนักบัญชีของสำนักงานบัญชีในเขตภาคใต้ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อริยา สรศักดา. (2563).สมรรถนะของนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพสำนักงานบัญชี. (สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อมรา ติรศรีวัฒน์. (2561). การบัญชีดิจิทัลและการเตรียมความพร้อมในการเรียนการสอนนักศึกษาในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 (หน้า 585-601). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
Ku Bahador, K.M. and Haider, A. (2012). Information Technology Skills and Competencies–A Case for Professional Accountants. Lecture Notes in Business Information Processing, 127, 81-87.