ส่วนประสมทางการตลาด และการสื่อสารทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

กรรชกร ประเสริฐ
ชัชชัย สุจริต
ภาศิริ เขตปิยรัตน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาด กระบวนการสื่อสารทางการตลาด และการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ และ 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด กระบวนการสื่อสารทางการตลาด ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 385 คน เลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จาก 5 อำเภอเป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคเห็นว่าส่วนประสมทางการตลาดที่สำคัญมากที่สุด คือ การส่งเสริมการตลาด ผลิตภัณฑ์ และราคา การสื่อสารการตลาดที่สำคัญมากที่สุดคือ  การขายโดยใช้พนักงานขาย  และกระบวนการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยที่สำคัญมากที่สุดคือ  ประสบการณ์หลังการซื้อ 2) ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์คือ  ผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด  และการสื่อสารทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย 69.4% ดังนั้นควรวางกลยุทธ์ที่เน้นความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ และประชาสัมพันธ์โดยใช้พนักงานขาย พร้อมกับการส่งเสริมการขายที่น่าสนใจ

Article Details

How to Cite
ประเสริฐ ก., สุจริต ช., & เขตปิยรัตน์ ภ. (2022). ส่วนประสมทางการตลาด และการสื่อสารทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(3), 136–148. https://doi.org/10.14456/jappm.2022.25
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2564). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สามลดา.

จุฑามาศ อัครเดชา.(2559).การสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อความสนใจซื้อบ้านเดี่ยว ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ธนาคารกสิกรไทย .(2564). คาดกิจกรรมการซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑลปี 2564 หดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 3. สืบค้น 11 กรกฎาคม 2564, จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/real-estate-z3228.asp

ธัช สหเมธาพัฒน์ และนลินี เหมาะประสิทธิ์.(2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

บาร์ไวส์, แพตทริก. (2563). คัมภีร์การตลาด. (ปฏิพล ตั้งจักรวรานนท์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ปรีชา วงศ์ทิพย์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและชุมชน. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564, จาก http://www.human.cmu.ac.th/home/hc/ebook/006103/lesson4/01.htm

พนิตสุภา ธรรมประมวล. (2563). การตลาดบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

ยุทธพงษ์ อรัญกานนท์. (2564). แนวทางการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคหมู่บ้านพฤกษา 83บรมราชชนนี จังหวัดนครปฐม. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2564 “สู่ชีวิตวิถีใหม่ ด้วยงานวิจัยทางสุขภาพและการบริการ. 687-695.

วสันต์ กานต์วรรัตน์.(2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการที่พักรีสอร์ทของนักท่องเที่ยวในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย,4(2),158.

วิจัยกรุงศรี. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566 : ธุรกิจที่อยู่อาศัย. สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry

ศศิพร บุญชู. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวของโครงการบ้านจัดสรร ในพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2563). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

สำนักงานสถิติจังหวัดอุตรดิตถ์. (2564). ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2565, จาก https://www2.uttaradit.go.th/ files/com_news_devpro/2021-11_ec27cad80186277.pdf