ผลของการจัดกิจกรรมเกม ดนตรี และเคลื่อนไหวผสาน Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงคำนวณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมเกม ดนตรี และเคลื่อนไหวผสาน Unplugged Coding กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือ เด็กปฐมวัยชายและหญิง อายุระหว่าง 4 – 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนอนุบาลปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 12 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ของการศึกษา ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมเกม ดนตรี และเคลื่อนไหวผสาน Unplugged Coding จำนวน 24 แผน และ2) แบบประเมินปฏิบัติการการคิดเชิงคำนวณโดยใช้สถานการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเรียบเรียงเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกม ดนตรี และเคลื่อนไหวผสาน Unplugged Coding มีคะแนนเฉลี่ยของการคิดเชิงคำนวณหลังการจัดกิจกรรมทั้งโดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม โดยมีค่าเฉลี่ยก่อนการจัดกิจกรรมคือ 10.17 และค่าเฉลี่ยหลังการจัดกิจกรรมคือ 22.50 โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการแบ่งงานใหญ่ออกเป็นงาน/ปัญหาย่อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.83 รองลงมาคือ ด้านการออกแบบขั้นตอนวิธี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.75 ด้านการสรุปสาระสำคัญของปัญหา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.58 และด้านการหารูปแบบของปัญหาหรือวิธีการแก้ปัญหา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.33
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). หลักสูตรอบรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคํานวณระดับอนุบาล. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กันต์ เอี่ยมอินทราม. (2562). Computer Science Unplugged เรียนคอมฯแบบไม่ใช้คอมฯ. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647968
กัลยา โสภณพนิช. (2564). การอบรมตลาดนัดการเรียนรู้ออนไลน์วังจันทรเกษม เรียนรู้ความสุขตามอัธยาศัย หลักสูตรที่ 10 พลังบวกสำหรับครูปฐมวัย. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564, จากhttps://moe360.blog/2021/09/14/online-learning-marketplace-10
ธีราพร กุลนานันท์. (2561). ผลการใช้กิจกรรม Brain-DISCOPE ในการพัฒนาคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย (ตามยุทธศาสตร์ 20 ปี 2560-2579). วารสารครุพิบูล, 5(2), 144-161.
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563). กลยุทธ์เบื้องต้นเพื่อพัฒนาทักษะในการคิดคำนวณในเด็กปฐมวัย. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564, จาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/79301/-blog-teamet
แปลน ฟอร์ คิดส์. (2564). มาทำความรู้จัก Coding กัน. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564, จาก https://www.planforkids.com/kids_corner/coding-preschool
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. (2563). กรอบการเรียนรู้และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โกโกพริ้นท์ (ไทยแลนด์).
สุวิมล นิลพันธ์. (2563). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (การค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อนัญญา ระโหฐาน, ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร และ อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2564.) ผลการจัดการเรียนรู้งอิงกิจกรรมในชีวิตจริงเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณในเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 32(3), 41-55.
Kim, D. (2019). Concept and strategy of unplugged coding for young children based on computing thinking. The Journal of the Convergence on Culture Technology (JCCT), 5(1), 297-303.
NAEYC & the Fred Rogers Center. (2012). Technology and Interactive Media as Tools in Early Childhood Programs Serving Children from Birth through Age 8. Retrieved October 8, 2021, from https://www.naeyc.org/sites/default/files/globally-shared/downloads/PDFs/resources/position-statements/ps_technology.pdf
Wing, J. M. (2010). Computational thinking: What and why?. Retrieved October 8, 2021, from http://www.urces/TheLinkWing.pdf