สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับนักศึกษา กศน.ในเรือนจำกลางชลบุรี

Main Article Content

สมปรารถนา หาญโยธา
มีนมาส พรานป่า

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับนักศึกษา กศน. ในเรือนจำกลางชลบุรี 2) เปรียบเทียบสภาพปัญหาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำแนกตามอายุและสถานภาพ และ 3) เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำหรับนักศึกษา กศน. ในเรือนจำกลางชลบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research)
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 272 คน เป็นครูประจำกลุ่ม และนักศึกษา กศน. ในเรือนจำกลางชลบุรีได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.975 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการบรรยายเชิงพรรณนา


ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด ด้านที่มีปัญหามากที่สุด คือ ด้านการวัดประเมินผลการเรียนรู้ รองลงมาด้านบุคลากรครูผู้สอน ด้านการจัดหลักสูตร ด้านวิธีการจัดการเรียนรู้ และด้านที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือ ด้านผู้เรียน 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพปัญหาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำแนกตามอายุ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการวัดประเมินผลการเรียนรู้ แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการจัดหลักสูตร ด้านวิธีการจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดประเมินผลการเรียนรู้ และด้านบุคลากรครูผู้สอน แตกต่างกัน 4) แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีดังนี้ ด้านการวัดประเมินผลการเรียนรู้ ส่งเสริมให้มีการประเมินผลด้วยวิธีที่หลากหลาย ด้านบุคลากรครูผู้สอน ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการพัฒนาตามแนวทางการอบรมครูประจำกลุ่มเรือนจำ และส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตชัย อรุณรัตน์. (2561). กศน.ชี้ 17 กลุ่มเป้าหมายผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษาต้องเข้าถึงบริการ กศน.อย่างมีคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564, จาก http://www.braille-cet.in.th/Braille-new/?q=news-7691

กรมราชทัณฑ์. (2560). คู่มือการจัดการศึกษาสำหรับผู้ต้องขัง. กรุงเทพฯ: กรมราชทัณฑ์กระทรวงยุติธรรม.

กรมราชทัณฑ์. (2564). สารานุกรมการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง.กองพัฒนาพฤตินิสัย กรมราชทัณฑ์.กรุงเทพฯ: ส่วนส่งเสริมการศึกษาสำนักพัฒนาพฤตินิสัย.

ธร สุนทรายุทธ. (2550). การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านบึง.(2564).รายงานสรุปผลการลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ศูนย์การศึกษานอกนระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านบึง. ชลบุรี: สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2554). มาตรฐาน กศน.. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.