ประสิทธิผลของการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดระนอง

Main Article Content

Amornrat Promsang

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิผลของการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดระนอง (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดระนอง จำแนกด้วยลักษณะประชากรและ (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลของการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดระนองกับ ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม ตัวอย่าง สุ่มจาก ประชากรที่อาศัยอยู่ใน 5 อำเภอ ของจังหวัดระนอง จำนวน 399 คน เก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเอง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ ค่าความแปรปรวนเชิงเดี่ยว สหสัมพันธ์เพียรสัน ผลการวิจัยพบว่า


     1. ประสิทธิผลการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดระนอง 4.17 อยู่ในระดับมาก


     2. มีความแตกต่างกันในความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างจำแนกด้วยลักษณะประชากรด้านรายได้อย่างมีนัยสำคัญ


     3. ประสิทธิผลการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดระนองอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชยาภรณ์ ธีรเวชพลกุล และไพฑูรย์ เจตธำรงชัย. (กันยายน-ธันวาคม 2561). กลยุทธ์การตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่อำเภอเมือง

ระนอง จังหวัดระนอง. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(27), น. 85-100.

นาวา มาสวนจิก. (2562). การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนืองานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน

ด้านการวิจัย ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิราภรณ์ ภิญโญชูโต. (2549). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยความร่วมมือขององค์กร ท้องถิ่นและชุมชนบ้านข่วงบุก ตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย

จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.

อรนภา ทัศนัยนา. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาสำหรับผู้สูงอายุโดย มหาวิทยาลัย. ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตาม

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.