ประสิทธิผลการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

Suchin Sittiviphat

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ประเมินระดับประสิทธิผลการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จำนวน 388 คนเก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเอง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ ค่าความแปรปรวนเชิงเดี่ยว สหสัมพันธ์เพียรสัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับมากที่สุด 


2. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อจำแนกด้วยลักษณะประชากรด้าน ตำแหน่ง และการศึกษา


3. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ แสนใจงาม. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สมศักดิ์ พรมเดื่อ (2557). ปัจจัยด้านสมรรถนะขององค์กร. สืบค้นจาก http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/

/121865/Kaewwisit%20Kaitsuda.pdf.

พิสิษฐ์ พลอินทร์. (2557). การประเมินสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลกลางสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

รมิดา ชาธิรัตน์. (2560). สมรรถนะหลักการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทิพย์นฤมล โคตรบุตร. (2560). สมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตําบลในเขตพื้นที่อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ณัฐศรัณย์ ชุมวรฐายี. (2560). การพัฒนาสมรรถนะของนักบริหารและพัฒนาเมืองตามความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีจังหวัดปทุมธานี. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.