ความสำเร็จของการจัดการพัฒนาพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองปากแพรก ไปสู่ความเป็นเมืองสีเขียว

Main Article Content

ปิยนุช อุ่นจิตสกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสำเร็จของการจัดการพัฒนาพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองปากแพรกไปสู่ความเป็นเมืองสีเขียว (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองปากแพรกที่มีต่อความสำเร็จของการจัดการพัฒนาพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองปากแพรกไปสู่ความเป็นเมืองสีเขียว (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ ระหว่าง ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการพัฒนาพื้นที่ในเขตไปสู่ความเป็นเมืองสีเขียวกับการจัดการพัฒนาพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองปากแพรกไปสู่ความเป็นเมืองสีเขียว การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม ตัวอย่าง สุ่มจาก ประชาชนในพื้นที่บริการเทศบาลเมืองปากแพรก รวมทั้งสิ้นจำนวน 396 คน เก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเอง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที
การวิเคราะห์ ค่าความแปรปรวนเชิ่งเดี่ยว สหสัมพันธ์เพียรสัน
1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ความสำเร็จของการจัดการพัฒนาพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองปากแพรกไปสู่ความเป็นเมืองสีเขียว อยู่ในระดับปานกลาง
2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองปากแพรกที่มีต่อความสำเร็จของการจัดการพัฒนาพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองปากแพรกไปสู่ความเป็นเมืองสีเขียว
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญด้าน อาชีพ
3. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการพัฒนาพื้นที่ในเขตไปสู่ความเป็นเมืองสีเขียวมีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับการจัดการพัฒนาพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองปากแพรกไปสู่ความเป็นเมืองสีเขียว อย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ์ โสภักดี. (2559). แนวทางความสำเร็จของการสร้างพื้นที่สีเขียวในแหล่งอุตสาหกรรม ชุมชน ตรอกไฟไหม้ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง กรณีศึกษา โครงการธนาคารต้นไม้ ธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 27-44.

ชมพูนุช คงพุนพิน, ดวงพร กาซาสบิ และมานัส ศรีวณิช (2559). การประเมินศักยภาพการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวเพื่อการวางแผน การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืนใน จังหวัดนครนายก. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://shorturl.asia/Foeks

วรุต พันธุ์ไม้. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อม ขององคการ บริหารส่วนตำบลบางพระ อำเภออศรีราชา จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร

มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสาวคนธ์ สนธิมูล. (2556). แนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่นเพื่อสนับสนุน

แนวคิดเมืองสี เขียว (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อลงกต สารกาล. (2563). ความสำเร็จขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองที่

ยั่งยืน:บทเรียนจากเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์, 50(2),

-100.