การดำเนินการใช้นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

Main Article Content

สุชาดา บัวบาง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาระดับการดำเนินการใช้นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 (2) เปรียบเทียบการดำเนินการใช้นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยจำแนกตามขนาดโรงเรียนและสถานที่ตั้ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็นนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าเอฟ (F-test) โดยวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการดำเนินการใช้นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินการใช้นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและสถานที่ตั้ง โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร แสนสุขสม. (2561). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความมีชื่อเสียงขององค์การที่มีผลต่อการระดมทรัพยากรทางการศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จารุวรรณ นาตัน. (2556). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก (วิทยานิพนธ์ปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชุติมา ทัศโร. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ในสังคมพหุ

วัฒนธรรมในรายวิชาความเป็นครูวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

นนกร มังคละศิริ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นิพนธ์ นิกาจิ. (2560). รูปแบบการบริหารโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สอดคล้อง

กับบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ปรีชา ชื่นชนกพิบูล. (2554). รูปแบบนวัตกรรมการบริหารเพื่อพัฒนางานของศูนย์บริการการศึกษานอก

โรงเรียนอำเภอ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

มนญา กัปวัฒนวรสุข. (2550). การศึกษาแนวทางการประยุกตรูปแบบการบริหารจัดการตามแนวคิดของ

แมคคิน ซีย (Mckinsey’s) ในสถานศึกษาปฐมวัยเอกชน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ยศวดี ดำทรัพย์. (2560). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

รสสุคนธ์ เนาวบุตร. (2557). แนวทางการจัดการศึกษาเรียนร่วมพหุวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนบ้านป่าละอู อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุ่งนภา มาอุด. (2561). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาพหุวัฒนธรรม กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา.

ศิลป์ชัย สุวรรณมณี. (2556). รูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐที่สอดคล้องกับบริบทสังคม

พหุวัฒนธรรมกรณีศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ศิลป์ชัย สุวรรณมณี. (2558). การบริหารสถานศึกษาตามแนวทางพหุวัฒนธรรมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. (2562). การพัฒนาฐานข้อมูลนักเรียน

กลุ่มชาติพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563, จาก https://1th.me/9TwXF

สำนักนายกรัฐมนตรี.(2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.