ประสิทธิผลของการบริหารจัดการเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

Main Article Content

อนันต์สุดา ศรีรุ้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการบริหารจัดการเทศบาลเมือง   หัวหิน  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลของการบริหารจัดการเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (3) อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกับประสิทธิผลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลเมืองหัวหิน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน ได้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง ของเทศบาลเมืองหัวหิน  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียรสัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิผลของการบริหารจัดการเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อยู่ในระดับมาก (2) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลของการบริหารจัดการเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พบว่า มีความแตกต่างกันเมื่อจำแนกด้วยลักษณะประชากร ด้านระดับการศึกษา และสถานภาพ (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการจัดการเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสัมพันธ์เชิงบวก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญตา เบ็ญจะขันธ์. (2560). ไทยแลนด์ 4.0 กับการปรับตัวของข้าราชการไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 661-676.

จรัล สุวรรณมาลา. (2546) จุดบอดบนทางสู่ธรรมาภิบาล บทบาทของบอร์ดองค์การมหาชน. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส แอนด์ กราฟฟิค.

จิรายุ ทรัพย์สิน, วันชัย สุขตาม, และสุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2560). ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(1),112-132.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2550). ทศธรรม: ตัวชี้วัดกำรบริหำรกิจกำรบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้าฯ.

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2544). ธรรมาภิบาลกับราชการไทย. นนทบุรี: สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน.

ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์ และอเนก นอบเผือก.(2561). การบริหารงานตามธรรมาภิบาล องค์การบริหารส่วนตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก.วารสารวิรมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(1), 129-139.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2544). การสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ประภาส วรรณทอง. (มีนาคม-สิงหาคม 2559). การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ของเทศบาลตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการเมืองการปกครองธรรมาภิบาล (Good Governance),6(2), 112-126.

ประเวศ วะสี. (2541). ทฤษฎีพระมหาชนก : ทิศทางแห่งการพัฒนา. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์.

ปัญญา ฉายะจินดาวงศ์ และรัชนี ภู่ตระกูล. (2549).ธรรมภิบาล (Good Governance) กับสังคมไทย.กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

ชุลีพร โพธิ์เหลือง. (2557). ผลสัมฤทธิ์การบริหารราชการด้วยธรรมาภิบาล ตามภารกิจหลักขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดภาคกลาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(2), 32-44.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (9 ตุลาคม 2546). ราชกิจจานุเบกษา.เล่มที่ 120 ตอนที่ 100 ก. หน้า 2.

ไพฑูรย์ ศรีวิชา (2556). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภมร วงษ์ศรีจันทร์. (2559). การบริหารจัดการตามหลักธรรมภิบาลของเทศบาลตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีประทุม.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. (10 สิงหาคม 2542).ราชกิจจานุเบกษา.เล่มที่ 116 ตอนที่ 63 ง. หน้า 24.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (6 เมษายน 2560).ราชกิจจานุเบกษา.เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 17.

ลัดดา ผลวัฒนะ. (2557). ธรรมาภิบาลกับการบริหารมหาวิทยาลัย GOOD GOVERNANCE FOR UNIVERSITY ADMINISTRATION. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลับบูรพา, 8(2), 16-27.

วีระ หาญกัน. (2559). การบริหารงานตามธรรมาภิบาลขององค์ การบริหารส่วนตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 5(1), 53-67.

วรลักษณ์ วรรณกูล. (2559). การบริหารจัดการตามหลักธรรมภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.(2543).การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governance). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2546). คู่มืออธิบายแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สิริบุตรการพิมพ์

เทศบาลเมืองหัวหิน. (2564). ประวัติความเป็นมา. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564,จาก https://www.huahin.go.th

อานันท์ ปันยารชุน. (2542). มุมมองนายอานันท์. กรุงเทพฯ: มติชน.

เอกชัย เครืออินต๊ะ. (2560). รูปแบบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณี ศึกษาอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17, 1527 -1535.