ประสิทธิผลการนำนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองในเขตอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ประเมินประสิทธิผล การนำนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ในเขตอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผล การนำนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ในเขตอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ (3) อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อปัจจัยที่มีผลต่อ ประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติกับประสิทธิผล การนำนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ในเขตอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปริมาณ ประชากรได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว ประกอบด้วย (1) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล (ฝ่ายปกครองอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์(2) เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.อ่าวน้อย (3) เจ้าหน้าตำรวจ สภ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ (4) เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.คลองวาฬ (5) ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (6) ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดประจวบ และ (7) เจ้าหน้าที่ทหารหน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ Krejcie & Morgan (1970 pp. 607-610) ได้กลุ่มตัวอย่าง 278 คน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิผล การนำนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง อยู่ในระดับมาก (2) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผล การนำนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง พบว่า มีความแตกต่างกันเมื่อจำแนกด้วยลักษณะประชากร ด้านระดับการศึกษา (3) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติมีความสัมพันธ์ เชิงบวกประสิทธิผล การนำนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง อย่างมีนัยสำคัญ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กานต์มณี ไวยครุฑ. (2562). กลยุทธ์การป้องกันในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ด่านจังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี, 14(1), 161-173.
ชาครี ศักดิ์บัณฑิตวงศ์ และสมคิด ดวงจักร. (2561). การป้องกันและการแก้ใขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎจอมบึง, 6(1),1251-1258.
ทิพมาศ จำนงค์รักษ์. (2552). การจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการในเขต อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. ค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2564, จาก: http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files//4993 0230/title.pdf
นันทเดช ย้อยนวล. (2541). ขวัญในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2564, จาก: https://soreda.oas.psu.ac.th/show_detail.php?research_id=263.
นิตยา คงคุ้ม. (2562). การป้องกันและปราบปรามแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมือง ในจังหวัดขอนแก่น: มุมมองของเจ้าหน้าที่. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 5499-5515.
พระมหาแพง เตชสีโล. (2557). การบริหารจัดการการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการขนาดย่อมใน เขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิมพ์ใจ ญาณวรพงศ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภัทรวุธ เภอแสละ. (2552). แนวทางการพัฒนากระบวนการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้า เมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวกรมการจัดหางาน. ค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2564, จาก: http://etheses.aru.ac.th/PDF/125524526_02.PDF
ยุคนธร จิตอารีย์รัตน์. (2561).การหลบหนีเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าวที่มีผลต่อการนำนโยบาย พระราชกำหนด บริหารจัดการการทางานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ไปปฏิบัติศึกษากรณีแรงงานต่างด้าว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
รวี ชื่นชม. (2559). ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาการหลบหนีเข้าเมืองของภาครัฐเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ. 2015. วารสาร EAU HERITAGE, 6(1),226-234.
ศิลปคมณ์ เอี่ยมวงศ์ สิตานนท์ เจษฎาพิพัฒน์ และ ฉัตรวรัญ องคสิงห์. (2559). การจัดการปัญหาการลักลอบเข้าเมืองของชนกลุ่มน้อยชาวโรฮีนจา. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 1(2),22-35.
อภิชาติ ทรัพย์ประเสริฐ. (2560). ปัญหาหลบหนีเข้าเมือง กับภัยคุกคามความมั่นคง (ศึกษากรณี จ.จันทบุรีและ จ.ตราด). ค้นเมื่อ 27 มีนาคม 256, จาก: http://www.awc.ac.th/awcdata/research/24.pdf