ประสิทธิผลการดำเนินงานตามนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาล้าน อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

อรวรรณ พุกลิ้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพรรณนาการดำเนินงานตามนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาล้าน อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อระบุประสิทธิผลการดำเนินงาน ตามนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาล้าน อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานตามนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาล้าน อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้สูงอายุที่รับเงินเบี้ยยังชีพผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลเขาล้านเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัย (1) การดำเนินงานตามนโยบายเบี้ยยังชีพประกอบด้วย (ก) ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของนโยบายคือ เพิ่มรายได้ ส่งเสริมการดำรงชีพ และส่งเสริมคุณภาพชีวิต (ข) การดำเนินงานถูกถ่ายโอนภารกิจจากจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มายังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (ค) การดำเนินงานเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  (2) ประสิทธิผลการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และ (3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานตามนโยบายประกอบด้วย (ก) จัดอบรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดทักษะในการทำอาชีพเสริม  (ข) ขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันผ่านโรงเรียนผู้สูงอายุ และ (ค) เสริมสร้างโอกาสในอาชีพเสริม โดยการสร้างความแข็งแกร่งระบบเศรษฐกิจชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2564). ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม.สืบค้นจากhttp://www.banbong2.com/sung4.pdf.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2564). มาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ. สืบค้นจากhttp://intranet.dla.go.th/els/elibrary.do.

กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง. (2562). หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเงินเบี้ยความพิการให้คนพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม. สืบค้นจาก https://saraban-law.cgd.go.th/easinetimage/.

ชญาณิศา รักษาเวียง. (2562). ประสิทธิผลการดำเนินงานตามนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม,15 (1), 44 – 60.

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้นจาก http://www.nakhonsithammarat.m-society.go.th.

กมลชนก เบญจภุมริน. (2556). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการให้บริการการจ่ายเบี้ยยังชีพขององค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

ฮามีบ๊ะ สังข์นุ้ย. (2558). การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมาปฏิบัติ: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. (รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,สงขลา.

รุจิราภรณ์ นาแข็งฤทธิ์. (2558). ความเป็นธรรมของระบบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเขตเมืองและเขตชนบท.(สารนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐธยาน์ ระโส และคณะ. (2554). การศึกษาประสิทธิผลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา จังหวัดนครสวรรค์. (ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุชาดา นพศิริรัตน์. (2556). ความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อการนำนโยบายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติของเทศบาลตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมพล นะวะกะ. (2555). ความต้องการได้รับสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎ

วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ณพวิทย์ ดิษยนันท์. (2563). ความสำเร็จ ล้มเหลว และความท้าทายของการนำนโยบาย เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติของสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 25 เมษายน 2564, จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/file/2562_1597733099_6114832074.pdf

ทัศนีย์ สุวดิษฐ์. (2554). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการจ่ายเบี้ยยังชีพ ศึกษากรณีเทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2562). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี. (งานวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

รัตติยา พนาจันทร์. การส่งเสริมประชาชนเป็นหุ้นส่วนร่วมกับรัฐในการจัดสวัสดิการสังคม กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564, จาก https://www.parliament.go.th/ ewtcommittee/ewt/25_people/ewt_dl_link.php?nid=102&filename=index

พระธนพล กนฺตสีโล (เรือนเพ็ชร์). (2561). การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริพร เขียวไสว. (2550). การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง จังหวัดสุพรรณบุรี. (ปริญญานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. (2560). การสร้างความเป็นธรรมทางสังคมผ่านนโยบายสวัสดิการสังคม : กรณีศึกษาการเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ.วารสารสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน,10 (1), 50-79.

ดวงพร เพชรคง. (2560). เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 6 เมษายน 2564, จาก https://www.parli ament.go.th/ewtadmim/ewt/elaw_parcy/download/article/article_20181012153553.pdf

ธนัตถ์วนันท์ เอียดพวง. (2554). การประเมินโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล โพธิ์แทน จังหวัดนครนายก. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศรัณย์ จันทร์แจ่ม. (2556). การประเมินผลการนำนโยบายการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลคู อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563, จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NUR_YIU/Article/view/16726/15127.

บุญมี โททำ. (2561). การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564, จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/download/149108/109522/

อภิษฎา เหล่าวัฒนพงษ์. (2554). ความต้องการและแนวทางในการจัดสวัสดิการของผู้สูงาอายุด้านอาชีพ: โครงการส่งเสริมอาชีพ พื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 22(3), 56-97.

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. (2560-2561). แนวทางการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลของภาคเอกชน. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564,จาก http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ ndc_2560-2561/PDF/8608s5.%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0% B9%88%202.pdf.

กิตตราพร เมฆขจร. (2557). ประสิทธิผลของการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ ตามโครงการอุ๊ยสอนหลานสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นแม่วาง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.