ความสำเร็จการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโคโรนา ไวรัส 19 ในเรือนจำ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

พงศกร วงศ์แก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมิน ความสำเร็จการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส ของเรือนจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อความสำเร็จการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส (3) อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัสของเรือนจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับ ประสิทธิผลการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโคโรนา ไวรัส ของเรือนจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้าราชการ พนักงานและผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 140 คนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ความสำเร็จการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส  ของเรือนจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (2) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจำแนกด้วยลักษณะประชากรด้าน เพศ อายุ และ การศึกษา (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประสิทธิผลการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัสของเรือนจำฯ ที่มีผลต่อประสิทธิผลการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัสของเรือนจำฯ เป็นเชิงบวก ที่ระดับปานกลางค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คำแนะนำการปองกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีเกิดการระบาดในเรือนจำ และทัณฑสถาน. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564,จาก shorturl.asia/Gksx5

นพรัตน์ ช่างเวฬุวรรณ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลสะตอ อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564, จาก shorturl.asia/B8w2j

บัญชา เกิดมณี. (2563). แนวคิดและทิศทางการแก้ปัญหา โควิด 19. ค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2564,จาก shorturl.asia/z7ijO

วาทิน ประชานันท์. (2557). การบริหารจัดการธุรกิจดนตรีของบริษัทปราชญ์มิวสิคกรุ๊ป (PMG). ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564,จาก shorturl.asia/kKZBJ

สีตีปาตีฮะร์อีลา และคณะ. (2548). การแก้ปัญหาการรับมือและการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก shorturl.asia/EMFaR

สุมาลี จุทอง. (2562). การจัดการภัยพิบัติโรคระบาดโควิด 19 ในพื้นที่ชุมชนริมคลองหัวหมากน้อย สำนักงานเขตบางกะปิ. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2564, จาก shorturl.asia/nYO1J

ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2557). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.

พงศ์ศักดิ์ จันทร์ทอง, อุไรวรรณ จันทร์ทอง และศศลักษณ์ เมธารินทร์. (2563). การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในชุมชนบ้านบางมวง ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก shorturl.asia/cNJVu

สุพัตรา รุ่งรัตน์, ซูลฟีกอร์ มาโซ และยุทธนา กาเด็ม. (2563). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 161-174.

สุพิชญา วงศ์วาสนา. (2563). ปัจจัยผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายการโดยสาร กรณีศึกษา บริษัท บางกอกไฟลท์เซอร์วิสเซส จำกัด (BFS). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 161-174.

อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล และสุวรรณา ปัตตะพงษ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 19-30.

McClelland, D. C., Atkinson, J. W., Clark, R. A., &Lowell, E. L. (1964). The achievement motive. Appleton-Century-Crofts. Retrieved from : https://doi.org/10.1037/11144-000

Regaldo, A. (2020). What is herd immunity and can it stop the Corona Virus MIT TechnolRev 2020. Retrieved from : https://www.novabizz.net/management-104.html.